วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2567 สพฐ.จัดกิจกรรมรณรงค์หยุดใช้บุหรี่ไฟฟ้า
สพฐ. จัดกิจกรรมงาน วันงดสูบบุหรี่โลก วันที่ 31 พฤษภาคม 67 โดยรณรงค์ “สัปดาห์แห่งการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา” อ่านผลข่าวเพิ่มเติม
วันนี้ 31 พฤษภาคม 2567 เป็น วันงดสูบบุหรี่โลก สพฐ. หรือ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ “สัปดาห์แห่งการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา” ตั้งแต่วันที่ 27-31 พฤษภาคม 2567
วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ถือเป็น วันงดสูบบุหรี่โลก โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้มีการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายของการสูบบุหรี่และผลกระทบของยาสูบต่อสุขภาพ
สำหรับปี 2567 ได้กำหนดประเด็นในการรณรงค์ คือ “บุหรี่ไฟฟ้า : หยุดโกหกได้แล้ว” หรือ Stop the lies โดยกองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ร่วมประสานขอความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนการป้องกัน ควบคุมการบริโภคยาสูบในกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะในสถานศึกษา
สำหรับเชิงนโยบายและการดำเนินการสถานศึกษาปลอดบุหรี่ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 และตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565-2570 ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2 ป้องกันมิให้เกิดผู้เสพยาสูบรายใหม่ และเฝ้าระวังธุรกิจยาสูบ ในการป้องกันคนสูบหน้าใหม่ โดยการให้ความรู้ ตระหนักถึงภาวะเสพติดและพิษร้ายแรงของผลิตภัณฑ์ยาสูบ รวมทั้งจำกัดการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบ และเฝ้าระวังธุรกิจยาสูบและผู้ที่เกี่ยวข้อง
วันงดสูบบุหรี่โลก กับ 12 เหตุผลที่ต้องกัน "บุหรี่ไฟฟ้า" ออกจากเด็ก-เยาวชน
1. บุหรี่ไฟฟ้ามี “นิโคติน” สารเสพติดตัวเดียวกับบุหรี่ธรรมดา ซึ่งจะนำไปสู่การเสพติดนิโคติด “ติดแล้วเลิกยาก” และส่วนใหญ่ร้อยละ 75 จะติดไปตลอดช่วงชีวิต
2. นิโคตินจัดว่าเป็นสารพิษที่ถูกกฎหมาย โดยกฎหมายควบคุมยาพิษ (Poison Act) ในหลายประเทศ ซึ่งในอดีตนิโคตินถูกใช้เป็นยาฆ่าแมลง (ปัจจุบันกฎหมายห้ามใช้แล้ว)
3. ในไอบุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า พบสารก่อมะเร็ง โลหะหนักและสารเคมีอีกมากมาย ที่ยังไม่รู้ว่าจะส่งผลต่อร่างกายอย่างไรในระยะยาว
4. บุหรี่ไฟฟ้าก่อให้เกิดหลอดเลือดตีบ, ตับ, แตก, ตาย อันตรายต่อเนื้อเยื่อของทางเดินหายใจและปอด มีรายงานวัยรุ่นที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าติดต่อกันเกิดโรค EVALI ปอดอักเสบรุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้ กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยงในคนอายุน้อย
5. ควันบุหรี่ไฟฟ้าทั้งมือ 1 บุหรี่มือ 2 และ 3 มีผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์ ทำให้มีความผิดปกติของระบบประสาท เป็นโรคสมาธิสั้น ทำให้น้ำหนักแรกเกิดน้อย โดยเฉพาะสมองที่กำลังพัฒนาของเด็กและเยาวชนอายุถึง 25 ปี ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงมากกว่าเด็กที่ไม่สูบ 3-4 เท่า
6. ร้อยละ 53 ของวัยรุ่นไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าพบว่ามีภาวะซึมเศร้าเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
7. บุหรี่ไฟฟ้าก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรหัสพันธุกรรมของเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ บุหรี่ไฟฟ้าพบทำให้เกิดมะเร็งปอดในหมูทดลองแล้ว
8. องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดการเสพนิโคตินไว้ว่า เป็นโรคพึ่งพานิโคติน (Nicotine Dependence Disorder) คนที่เลิกเองไม่ได้ต้องได้รับการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์
9. นิโคตินส่งผลต่อสมองของวัยรุ่น ทำให้พร้อมที่จะรับและนำไปสู่การติดสิ่งเสพติดชนิดอื่น เช่น แอลกอฮอล์ เฮโรอีน โคเคน กัญชา เพิ่มขึ้นหลายเท่า
10. เด็กและเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีความเสี่ยงที่จะเปลี่ยนไปสูบบุหรี่ธรรมดามากกว่าผู้ที่ไม่ได้สูบถึง 2-4 เท่า (Gateway Effect)
11. องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเมินว่าควันบุหรี่มือ 2 และ 3 คร่าชีวิตเด็กทั่วโลกมากถึง 65,000 คน/ปี การสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ.2564 พบว่าร้อยละ 23.7 ของคนสูบบุหรี่สูบในบ้าน ทำให้เด็กได้รับควันบุหรี่มือ 2 และ 3 ในบ้าน
12. อังเดร คาลานท์ โซพอลอส อดีต CEO ของบริษัทฟิลลิป มอร์ริส ที่ขายบุหรี่ไฟฟ้าพูดว่า นิโคตินเสพติดและอันตราย โดยเฉพาะวัยรุ่น “ผมมีความชัดเจนเกิดขึ้นกับลูก ๆ ของผม อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่มีนิโคติน”
เรื่องราวเพิ่มเติม
ขนม ศศิกานต์ ประกาศแยกทาง ครูเต้ย หลังเพิ่งคลอดลูกคนที่ 2
รวงข้าว ญาตาวีมินทร์ ยังแรงต่อเนื่องลิ่วรอบ 8 คนแบดมินตัน
เหรียญ USDT เครื่องมือฟอกเงิน ดิไอคอน ไข 1 คำถามตามยากจริง?