วันสตรีสากล (International Women’s Day หรือ IWD) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี
วันสตรีสากล เป็นการเฉลิมฉลองความสำเร็จในทุกด้านของผู้หญิงทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ในขณะเดียวกันวันนี้ยังเป็นโอกาสสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่ผู้หญิงต้องเผชิญ ทั้งเรื่องการเหยียดเพศ การกดขี่ทางเพศ การคุกคาม การให้ค่าแรงอย่างไม่เป็นธรรม อ่านข่าวเพิ่มเติม
ดังนั้นวันนี้จึงมีขึ้นเพื่อรณรงค์และส่งเสริมให้สังคมตระหนักถึงสิทธิสตรีด้วยเช่นกัน
ที่มาของ International Women’s Day
- ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี
- รำลึกถึงการต่อสู้ของแรงงานหญิงในโรงงานทอผ้าในสหรัฐอเมริกาปี 1857
- เรียกร้องค่าแรงที่เป็นธรรมและคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีขึ้น
- ต่อสู้กับการกดขี่ข่มเหง ทำงาน 12-15 ชั่วโมงต่อวัน ไล่ออกเมื่อตั้งครรภ์
- ผู้หญิงในยุคนั้นทำงาน 12-15 ชั่วโมงต่อวัน และผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ก็จะถูกไล่ออก
- แรงงานหญิงลุกฮือประท้วง ต่อสู้จนมีการล้อมปราบ สูญเสียไปมากมาย
การต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี
- ต้นยุค 1900s : ประท้วงเรื่องสวัสดิการแรงงาน สิทธิในการเลือกตั้ง
- 1910 : กลุ่มแรงงานหญิง 100 คนจาก 17 ประเทศ ประชุมสมัชชาแรงงานหญิง
- เรียกร้องลดเวลาทำงาน หาความรู้ เพิ่มเวลาพัก ค่าแรงเท่าเทียม
- มีมติเอกฉันท์กับแนวคิดของนักเคลื่อนไหวทางการเมืองผู้สนับสนุนสิทธิสตรีชาวเยอรมันอย่าง Clara Zetkin ที่แนะนำให้กำหนด International Women’s Day สำหรับทั่วโลก23 กุมภาพันธ์ 1917: ผู้หญิงรัสเซียชุมนุม นำไปสู่การปฏิวัติรัสเซีย
- รัฐบาลอนุมัติให้ผู้หญิงมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
- 1975 : องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนด 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากลนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
สีประจำวัน และการเฉลิมฉลอง International Women’s Day
- สมัชชาแรงงานของสตรี Women’s Social and Political Union (WSPU) ในสหราชอาณาจักรเลือกให้สีม่วง เขียว และขาวเป็นสีประจำ International Women’s Day โดยแต่ละสีจะมีความหมายแตกต่างกันไป
- สีประจำวัน: ม่วง (ความยุติธรรม), เขียว (ความหวัง), ขาว (ความบริสุทธิ์)
- พวกเขาอาจเฉลิมฉลองด้วยการซื้อของขวัญให้กับเหล่าสุภาพสตรีในปัจจุบันก็จะให้ของหรือของขวัญทั่วไป อาจจะเป็นเครื่องสำอาง ช็อคโกแลต การ์ดอวยพร หรือดอกไม้ ส่วนดอกไม้ที่พวกเขาเลือกให้นั้นก็จะเป็นดอกทิวลิปเสียส่วนใหญ่ แต่ในอิตาลีจะให้ดอกมิโมซ่า
ธีม International Women’s Day 2024
- จัดขึ้นภายใต้แคมเปญ #InspireInclusion
- ผลักดันความเท่าเทียมทางเพศ โอกาส ความยุติธรรม
- ยอมรับความแตกต่าง หลากหลายทางเชื้อชาติ อายุ ความสามารถ ภาพลักษณ์
- ร่วมถ่ายภาพทำมือเป็นรูปหัวใจ พร้อมกับโพสต์ลงคู่กับแฮชแท็ก #InspireInclusion เพื่อเป็นการกระจายแคมเปญนี้ให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นบนโลกออนไลน์
เรื่องราวเพิ่มเติม
ขนม ศศิกานต์ ประกาศแยกทาง ครูเต้ย หลังเพิ่งคลอดลูกคนที่ 2
รวงข้าว ญาตาวีมินทร์ ยังแรงต่อเนื่องลิ่วรอบ 8 คนแบดมินตัน
เหรียญ USDT เครื่องมือฟอกเงิน ดิไอคอน ไข 1 คำถามตามยากจริง?