21/09/2024

ผลข่าว ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด

ผลข่าว อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด 24 ชั่วโมง

บริษัท AstraZeneca ยอมรับวัคซีนโควิด19 เสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน

บริษัท AstraZeneca

บริษัท AstraZeneca ยอมรับวัคซีนโควิด – 19 เสี่ยงลิ่มเลือดหัวใจอุดตัน

บริษัทแอสตราเซเนกาถูกฟ้องร้องก่อนหน้านี้ว่า “วัคซีนของทางบริษัทเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนเสียชีวิต หรือล้มป่วยรุนแรงโดยมีคู่กรณีหลายสิบราย” ล่าสุดทางบริษัทได้ออกมายอมรับครั้งแรก อ่านผลข่าวเพิ่มเติม

เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2567 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า บริษัท AstraZeneca บริษัทยายักษ์ใหญ่ออกมายอมรับครั้งแรกว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในชื่อ “Covishield” นั้นสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่พบได้ยาก รวมถึงภาวะลิ่มเลือด และเกล็ดเลือดต่ำ ได้ด้วย

บริษัท AstraZeneca

รายงานดังกล่าวนี้เนื่องจากเกิดคดีฟ้องร้องแบบกลุ่มในสหราชอาณาจักร ถึงผลข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 โดยบริษัทแอสตราเซนเนกา ที่พบภาวะลิ่มเลือดอุดตัน จนทำให้มีผู้เสียชีวิต

บริษัท AstraZeneca

อีกทั้ง Covishield ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทอังกฤษ-สวีเดน ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ และผลิตโดย Serum Institute of India ซึ่งมีการบริหารงานอย่างกว้างขวางในกว่า 150 ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักรและอินเดีย

บริษัท AstraZeneca

จากการศึกษาระหว่างการแพร่ระบาดพบว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ได้ 60-80 %

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ด้านองค์การอนามัยโลก ยืนยันว่า Covishield อาจจะมีผลข้างเคียงที่คุกคามถึงชีวิตได้ “มีรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่หายากมากที่เรียกว่า Thrombosis with Thrombocytopenia Syndrome ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ และมีความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับจำนวนเกล็ดเลือดต่ำ ได้รับรายงานหลังการฉีดด้วยวัคซีนนี้

สำหรับประเทศไทยได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้น ด้าน นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พูดถึงผลข้างเคียงจากการได้รับวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ก่อนหน้านี้บริษัท ก็ได้มีการแจ้งข้อมูลที่เป็นวารสารทางการแพทย์ออกมาตั้งแต่ในช่วงที่มีการอนุญาตในลักษณะฉุกเฉิน (EUA)

แต่ขณะนี้มีการอนุญาตใช้โดยทั่วไปแล้ว จึงมีการเก็บข้อมูลผลข้างเคียงในลักษณะที่เป็นหลักฐาน รวมไปถึงมีเรื่องของการฟ้องร้องดังกล่าวด้วย

จากข้อมูลจากกรมควบคุมโรค รายงานผลการฉีดวัคซีนโควิด ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. 2564 -10 มี.ค. 2566 ในไทยตั้งแต่เกิดการะบาดของโควิด -19 โดยมีการนำเข้าวัคซีน 5 ชนิดได้แก่ ซิโนแวค แอสตราเซเนกา ชิโนฟาร์ม ไฟเซอร์ และโมเดอร์นา โดยอันดับที่มีการฉีดมากสุดคือ ไฟเซอร์ จำนวน 48,867,210 โดส รองลงมาแอสตราเซเนกา 48,718,241 โดส