ดาวหางฮัลเล่ย์ ดาวหางที่มีความสว่างจนสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ชัด
เอ็ดมันด์ ฮัลเล่ย์ ผู้คำนวณและทำนายการปรากฏตัวของดาวหาง Halley อ่านข่าวเพิ่มเติม
เอ็ดมันด์ ฮัลเล่ย์ ผู้คำนวณและทำนายการเกิดปรากฏตัวของดาวหางได้สำเร็จเป็นคนแรก ซึ่งฮัลเล่ย์พบว่าดาวหางดวงนี้จะโคจรกลับมาให้เห็นบนท้องฟ้าทุกๆ 75 – 76 ปี
ฮัลเล่ย์ ได้ใช้ข้อมูลจากที่มีผู้บันทึกการพบเห็นดาวหางที่ปรากฏในปี ค.ศ. 1531, 1607 และ 1682 เขาสันนิฐานว่าดาวหางที่ปรากฏนี้น่าจะเป็นดาวหางดวงเดียวกัน อีกทั้งยังได้ทำนายว่าดาวหางดวงนี้จะกลับมาปรากฏตัวอีกครั้งในปี ค.ศ. 1759
แต่ฮัลเล่ย์ไม่สามารถพิสูจน์ผลการคำนวณและผลทำนายของเขาได้เนื่องจากเขาเสียชีวิตก่อนที่ดาวหางจะมาปรากฏตัวขึ้น ถึงแม้ว่าฮัลเล่ย์จะเสียชีวิตไปแล้วแต่คำทำนายของเขายังคงอยู่ และในปี ค.ศ. 1758
ตามคำทำนายของฮัลเล่ย์นั้นมีผู้พบเห็นดาวหางดวงนี้ปรากฏตัวขึ้นจริง ๆ ในวันคริสต์มาสของปีนั้นเอง จึงสร้างความตื่นเต้นแก่ผู้คนในโลกตะวันตกเป็นอย่างมาก ในเวลาต่อมาดาวดวงนี้จึงได้ชื่อตามชื่อของเขาว่า “ดาวหาง-ฮัลเล่ย์”
ช่วงต้นปี 2529 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2529 ดาวหาง-ฮัลเล่ย์ เริ่มปรากฏบนฟากฟ้าทางภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งสามารถมองเห็นชัดได้ด้วยตาเปล่า การโคจรกลับมาในครั้งนี้ได้สร้างความตื่นตัวให้คนไทยสนใจเรื่องของดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น
ในยุคนั้น ศ.ดร.ระวี ภาวิไล อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้ที่บุกเบิกในการศึกษาด้านดาราศาสตร์รุ่นแรก ๆ ของไทย ร่วมสังเกตการณ์ การกลับมาอีกครั้งของดาวหางดังกล่าว ซึ่งได้สร้างความตื่นตัวให้เยาวชนไทยหันมาให้ความสนใจการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์มากขึ้นกับการกลับมาในครั้งนี้
ฮัลเล่ย์ทิ้งมรดกไว้คือเทคนิคการคำนวณหาคาบวงโคจรของดาวหาง และนักดาราศาสตร์ยุคต่อมาก็ใช้เทคนิคการคำนวณของฮัลเล่ย์ทำนายการมาเยือนของดาวหางดวงนี้ในอนาคต ซึ่งเราจะได้ชมปรากฏการณ์อีกครั้งในราวช่วงกลางปี พ.ศ. 2604 จากมรดกที่ฮัลเล่ย์ฝากไว้ให้คนรุ่นหลังให้พิสูจน์ผลการคำนวณของเขาว่าถูกต้องหรือไม่ตามที่คำนวณไว้
เครดิต NARIT.OR.TH
เรื่องราวเพิ่มเติม
แบนเกาหลีได้ผล สาเหตุนักท่องเที่ยวไทยเซ็ง ตม. ทำลดฮวบ 21.1%
บาหลี เก็บภาษีสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 10 ดอลลาร์บาหลี
แม่เต่ามะเฟือง สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์วางไข่รังที่ 10 ของฤดู