22/09/2024

ผลข่าว ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด

ผลข่าว อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด 24 ชั่วโมง

ขยะอวกาศคืออะไร และสร้างปัญหาอย่างไรให้ชาวโลก คาดจุดตก 2567

ขยะอวกาศคืออะไร

นับตั้งแต่มนุษย์ส่งยานอวกาศ ดาวเทียม และคนขึ้นไปสำรวจอวกาศในช่วงทศวรรษที่ 1950 ก็ทำให้เกิดขยะขึ้นในห้วงอวกาศ ยิ่งเรามีโครงการอวกาศเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งทำให้ชิ้นส่วนขยะอวกาศที่ล่องลอยอยู่ในวงโคจรโลกนับวันจะยิ่งแน่นหนาขึ้น และกำลังกลายเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่จะสร้างความเดือดร้อนให้มนุษย์เราได้ทุกเมื่อ อ่านข่าวเพิ่มเติม

วานนี้เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 67 สมาคมดาราศาสตร์ไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก แจ้งเป็นข้อมูลให้ทราบว่า เวลาประมาณเที่ยงคืนวันนี้ (เข้าวันที่ 9 มี.ค.) หากมีลูกไฟสว่างไสวเคลื่อนไปช้า ๆ จากฟ้าตะวันตกยังตะวันออก ให้สันนิษฐานเลยว่าเป็น ขยะอวกาศ จากสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) มีน้ำหนักครึ่งตัน ที่ตกลงมา

โดยคาดการณ์ว่า วิถีการโคจร (ไม่ใช่จุดตก) ของขยะอวกาศขนาดครึ่งตัน จากสถานีอวกาศนานาชาตินี้ ขณะเคลื่อนผ่านน่านฟ้าไทยคืนนี้ 00.04-00.13 น. โดยขยะอวกาศชิ้นนี้ คาดว่าจะเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศไม่หมด และจะตกลงยังพื้นโลก

ขยะอวกาศคืออะไร

อัพเดตล่าสุด ขยะอวกาศ ขนาดครึ่งตันจากสถานีอวกาศนานาชาตินี้ ผู้เชี่ยวชาญคาดว่ามันตกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก (จุดกากบาท) เรียบร้อยแล้ว

ขยะอวกาศคืออะไร

ขยะอวกาศคืออะไร ก่อให้เกิดปัญหาอะไร

ขยะอวกาศ (space junk หรือ space debris) คือ วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นแล้วถูกทิ้งไว้ในห้วงอวกาศเมื่อเลิกใช้แล้ว โดยมีทั้งวัตถุขนาดใหญ่ เช่น ยานอวกาศปลดระวาง วัตถุที่ถูกสลัดทิ้งระหว่างภารกิจเดินทางขึ้นสู่อวกาศ ชิ้นส่วนเครื่องจักรและดาวเทียมที่เสีย หรือเลิกใช้งานแล้ว

นอกจากนี้ยังรวมถึงวัตถุขนาดเล็ก ตัวอย่างเช่น เศษซากการชนกันของวัตถุที่ลอยอยู่ในห้วงอวกาศ หรือแม้แต่แผ่นสีที่หลุดลอกออกจากยานอวกาศ รวมไปถึงของเหลวแข็งตัวที่ถูกขับออกจากยานอวกาศ เป็นต้น

ขยะอวกาศส่วนมากจะล่องลอยอยู่รอบโลก แต่มนุษย์ก็เคยทิ้งอุปกรณ์บางอย่างไว้บนดวงจันทร์ในช่วงทศวรรษที่ 1960 – 1970

ขยะอวกาศคืออะไร

ยิ่งมีขยะอวกาศมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีอันตรายมากขึ้นเท่านั้น แม้ขยะอวกาศส่วนมากจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชาวโลก เพราะส่วนใหญ่จะถูกเผาไหม้และหายไปเมื่อตกลงสู่ชั้นบรรยากาศโลก

แต่ทว่าปัญหาอาจเกิดขึ้นในห้วงอวกาศ เพราะมีความเสี่ยงที่ขยะอวกาศจะพุ่งชนดาวเทียมสำคัญต่าง ๆ เช่น ดาวเทียมที่ให้บริการบอกตำแหน่ง การนำทางด้วยระบบ GPS การบอกเวลา การสื่อสาร การทำธุรกรรมทางการเงิน และการเตือนภัยสภาพอากาศ จนทำให้ดาวเทียมเหล่านี้ได้รับความเสียหายและได้หยุดทำงานลง

ขยะอวกาศคืออะไร

แม้แต่ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ยังเคลื่อนตัวในวงโคจรของโลกด้วยความเร็ว 5 ไมล์ต่อวินาที นี่หมายความว่าการชนกันที่เกิดขึ้นจะสร้างความเสียหายได้เป็นอย่างมาก

ปัญหาดังกล่าวทำให้ในแต่ละปี ต้องมีการบังคับดาวเทียม หรือแม้แต่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ให้หลบหลีกการพุ่งชนของขยะอากาศหลายร้อยครั้ง