ดราม่า ROCKSTAR เพจข่าวอ้างว่า ลิซ่า จ่ายเงิน 20,000 บาทให้แต่ละร้านค้าในเยาวราช
เกิดเป็นกระแสดราม่าและทว่ายิ่งทวีความร้อนแรงเมื่อบัญชีโซเชียล X “Pop Base” (X/@PopBase) ที่มีผู้ติดตามกว่า 1.4 ล้านคนออกมาเปิดเผยเกี่ยวกับ LISA ROCKSTAR ว่าเป็นเพราะ “จ่ายเงิน” อ่านผลข่าวเพิ่มเติม
เกิดประเด็น ดราม่า ROCKSTAR เมื่อ Pop Base ได้นิยามตัวเองว่าเป็นแหล่งข้อมูลความบันเทิง ข่าวสาร การรายงานข่าวรางวัล การอัปเดตชาร์ต สถิติ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมป็อป ได้ระบุว่า “ลิซ่าจ่ายเงิน 20,000 บาทให้เจ้าของร้านแต่ละร้านบนถนนเยาวราชในประเทศไทย เพื่อขอให้ปิดร้านก่อนเวลาสำหรับถ่าย MV ROCKSTAR”
หลังจากที่มีประเด็นเรื่องให้เงินชาวบ้านในย่าน ปิดเยาวราชในการถ่ายเอ็มวี LISA ROCKSTAR ได้เผยแพร่ออกไปนั้น ก็มีการถกเถียงกันเป็นวงกว้างว่าสรุปแล้วความจริงเป็นอย่างไร มีการแสดงความคิดเห็นผ่านทางโซเชียลกันมากมาก
จากโพสต์ดังกล่าวได้ทำให้เกิดกระแสพูดถึงทั้งทางบวกและทางลบ บ้างก็บอกว่า “เรามีควีนสายเปย์แล้ว” บ้างบอกว่า “ทุกคนในประเทศไทยรักลิซ่า ต่อให้ไม่จ่ายเงินพวกเขาก็จะให้เธอถ่ายเอ็มวีได้อยู่ดี”
ขณะเดียวกันมีผู้ใช้ X ในไทยที่บอกว่า “เพื่อนเราที่อยู่แถวนั้น (เยาวราช) บอกว่า มีการ์ดคอยคุม ให้ 1,000 บาท ห้ามถ่ายคลิป”
แต่ก็มีผู้ที่อ้างว่าเป็นผู้ที่เปิดร้านอาหารอยู่ในเยาวราชเผยว่า “ขอพูดในฐานะบ้านเปิดร้านอาหารที่เยาวราช ลิซ่า ไม่มีการแจกเงินเพื่อปิดปากนะคะ กลัวบางคนมองว่าแถวนี้เขาหิวเงิน” ผู้ใช้บันชีดังกล่าวเล่าต่อว่า “จริง ๆ ทางทีมลิซ่ามีการประสานงานกับทาง กทม. ทางเขต สมาคมการค้าเยาวราช มาหลายเดือนแล้วค่ะ ว่าขอให้พื้นที่ตรงนี้ในการถ่ายทำ โดยสารสามารถยืนดูได้ ห้ามบันทึกภาพ”
อีกด้านผู้ใช้ X ชื่อ niniODDAtelier โพสต์ข้อความ แย้งปม ลิซ่า จ่ายเงินให้แต่ละร้านค้าในเยาวราช รวมถึงแนบแชทบทสนทนา ที่คุยเรื่องการจ่ายเงิน โดยระบุข้อความว่า
“ขอพูดในฐานะบ้านเปิดร้านอาหารที่เยาราช ค่ะ ลิซ่าไม่มีการแจกเงินเพื่อปิดปากนะคะกลัวบ้างคนมองว่าแบบเขาแถวนี้เห็นแก่เงิน แต่จริง ๆ คือทีม ลิซ่า มีการประสานงานกับทางกทม. + ทางเขต + สมาคมการค้าเยาวราชมาหลายเดือนแล้วค่ะว่าขอใช้พื้นที่ตรงนี้ในการ ถ่ายทำ สามารถยืนดูได้ห้ามบันทึกภาพ”
กระทั่งด้านกทม. เองในวันที่ 26 มิ.ย. 67 มีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงการใช้งานแพลตฟอร์มการขออนุญาตใช้พื้นที่ของกรุงเทพมหานครเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เขตพระนคร
โดยนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯ กทม. เผยว่า นับตั้งแต่กรุงเทพมหานครมีกิจกรรมที่เป็นซอฟต์พาวเวอร์เกี่ยวกับภาพยนตร์ ได้รับฟังปัญหาจากคนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หนังไทยแทบไม่มีฉากหลังที่เป็นกรุงเทพฯ เพราะการขอสถานที่ถ่ายทำนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
นี่จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้เดินหน้าเรื่องการขอสถานที่ถ่ายทำในกรุงเทพฯ เพราะปัจจุบันหลายประเทศใช้ภาพยนตร์เป็นหัวใจในการโปรโมตเมือง แต่ทุกอย่างต้องมีกฎ กติกา ที่ต้องทำความเข้าใจจึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้าใจถึงขั้นตอนการทำงานร่วมกัน และพร้อมใจให้บริการผู้ที่มาขออนุญาตใช้พื้นที่ของกรุงเทพมหานครเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ได้อย่างเป็นระบบและไม่ยุ่งยาก
อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานคร ไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ทั้งหมด จึงต้องขอขอบคุณหลากหลายหน่วยงานที่มาร่วมกันในครั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนร่วมกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ต่อไป
สำหรับ BFMCC จัดตั้งขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 เพื่ออำนวยความสะดวกในการขอใช้พื้นที่ของกทม. เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ มีหน้าที่นการอำนวยความสะดวกและประสานงานการขออนุญาตใช้พื้นที่ ให้บริการข้อมูล ข่าวสารและกฎระเบียบในเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตใช้พื้นที่ฯ แต่การดำเนินงานที่ผ่านมา ผู้ขออนุญาตและผู้ประสานงานอาจจะยังไม่ได้รับความสะดวกและรวดเร็วเท่าที่ควร
ในช่วงเวลา 6 เดือนที่ผ่านในการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (BFMCC) มี 64 กองถ่าย ที่ติดต่อเข้ามาเพื่อขออนุญาตให้สถานที่ไปประมาณ 140 กว่าสถานที่ มีทั้งกองถ่ายในประเทศไทย และ กองถ่ายต่างชาติ พื้นที่เยาวราช ได้มีขอเข้าถ่ายทำมาประมาณ 10 ครั้งด้วยกัน
สุดท้ายนี้ผู้ขออนุญาต (กองถ่าย) สามารถสร้างคำขออนุญาตผ่านทางเว็บไซต์ publicspace.bangkok.go.th จากนั้นเรื่องของคุณจะถูกส่งไปยังหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาและอนุมัติคำขอทางระบบ Traffy Fondue ซึ่งผู้ขออนุญาต (กองถ่าย) สามารถติดตามความคืบหน้าคำขออนุญาตได้ผ่าน LINE OA: @bangkokofficial
เรื่องราวเพิ่มเติม
บุ๋มปนัดดา อวดภาพ น้องอาเธอร์ ลูกชายอายุแค่ 1 วัน
แชมป์ ชนาธิป ไม่มีโปรโมชั่นเดินหน้าเติมรักใส่เต็ม100
แต้ว ณฐพร แง้มแพลนงานแต่ง เผย 1 สิ่งประทับใจในตัว ประณัย