22/11/2024

ผลข่าว ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด

ผลข่าว อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด 24 ชั่วโมง

สาเหตุน้ำท่วมเชียงราย หนักสุดรอบ 40 ปี นักวิชาการถอดบทเรียน

สาเหตุน้ำท่วมเชียงราย

สาเหตุน้ำท่วมเชียงราย หนักสุดในรอบ 40 ปี นักวิชาการถอดบทเรียน ควรถึงเวลาแก้ไข

อ.สนธิ นักวิชาการเผยสาเหตุน้ำท่วมที่จังหวัดเชียงราย หนักสุดรอบ 40 ปี พร้อมถอดบทเรียนราคาแพงในครั้งนี้ถึงเวลาแล้วที่ต้องแก้ไข ทั้งเรื่องการแจ้งเตือน และแผนเผชิญเหตุฉุกเฉิน อ่านผลข่าวเพิ่มเติม

นักวิชาการถอดบทเรียนครั้งใหญ่ สาเหตุน้ำท่วมเชียงราย สถานการณ์น้ำท่วมตลาดชายแดนแม่สาย วิกฤติหนัก ระดับน้ำสูงกว่า 2 เมตร ชาวบ้านหนีตายขึ้นบนหลังคารอคอยเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยออกมา ท่ามกลางน้ำไหลเชี่ยว ด้าน จ.เชียงใหม่ เกิดเหตุสลดดินภูเขาถล่มบนอุทยานแห่งชาติดอยห่มปก บ้านดอยแหลม ต.แม่อาย ฝังชาวบ้านจมโคลน 5 ศพ สูญหายอีก 1 คน

สาเหตุน้ำท่วมเชียงราย

อาจารย์สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กชื่อว่า “Sonthi Kotchawat” ระบุถึงสาเหตุที่น้ำท่วมหนักที่อำเภอแม่สาย และท่าขี้เหล็กว่า

สาเหตุน้ำท่วมเชียงราย
อาจารย์สนธิ คชวัฒน์

สำหรับ “พายุยางิ” อ่อนกำลังลง ทำให้เกิดกลุ่มเมฆฝนหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมพื้นที่ รวมทั้งมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาว ขณะที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันพัดเอาความชื้น และพามวลอากาศเย็นเข้ามาปะทะ

เนื่องด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดฝนตกหนักที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, เชียงราย, พะเยา, น่าน โดยเฉพาะที่ อ.แม่สาย และ อ.เชียงแสน เกิดน้ำท่วมหนัก น้ำไหลลงแม่น้ำแม่สาย และแม่น้ำรวก ไหลลงแม่น้ำโขงที่ ต.สบรวก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย แต่แม่น้ำโขงเต็มตลิ่งและฝนตกหนัก จึงทำให้เกิดน้ำท่วมหนักมากทั้งที่ อ.แม่สาย และ อ.เชียงแสน คาดว่าช่วงวันที่ 14 ถึง 16 กันยายน 67 พื้นที่ดังกล่าวจะมีฝนตกหนักถึง 80%

สาเหตุน้ำท่วมเชียงราย

อีกทั้ง อ.สนธิ แนะนำว่า เหตุการณ์ที่แม่สาย และแม่อาย เป็นบทเรียนราคาแพงที่ต้องได้รับการแก้ไข เนื่องจาก

1. ฝนตกหนักมากจากอิทธิพลของ “พายุยางิ” ขณะที่มีร่องมรสุมความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ทำให้อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย น้ำท่วมหนักเสียหายมากที่สุดในรอบ 40 ปี มากกว่าปี 65 และที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้เกิดดินถล่มจากภูเขาทับบ้านเรือนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายคนด้วยกัน

2. บทเรียนราคาแพงครั้งนี้ที่ทำให้เกิดวิปโยค ที่แม่สาย และแม่อายสะอื้นในครั้งนี้คืออะไร

  • บทเรียนครั้งนี้ “ขาดแผนการเตือนภัยที่ชัดเจน” กรมอุตุนิยมวิทยา และ สทนช. ได้แจ้งเตือนว่าจะเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ในช่วงวันที่ 8 ถึงวันที่ 13 กันยายน จะเกิดน้ำท่วมไหลหลาก และดินถล่ม แต่การเตือนภัยนี้อาจจะลงไปไม่ถึงประชาชนในระดับรากหญ้า 
  • การเตือนภัยดังกล่าวไม่ได้ระบุถึงความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน ไม่ได้ระบุถึงสถานที่ที่เฉพาะเจาะจงว่า น้ำจะท่วมหนักเกิดขึ้นที่ไหนบ้าง บอกแต่เพียงกว้าง ๆ ว่าจะเกิดขึ้นที่ จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่ ทำให้ประชาชนที่ได้รับข่าวสารในพื้นที่ไม่สนใจเท่าที่ควร เพราะทุกปีน้ำก็ท่วมประจำอยู่แล้วไม่ได้หนักหนาอะไร
  • ขาดการสื่อสารเรื่องระดับความเสี่ยงที่ให้ประชาชนเกิดความตระหนัก ที่ผ่านมาใช้ช่องสื่อสารทางทีวี วิทยุ เฟซบุ๊ก โดยใช้ภาษาทางวิชาการที่ยากจะเข้าใจทำให้ประชาชนระดับรากหญ้าไม่ค่อยสนใจเท่าที่ควร
  • ประเด็นเรื่องการสื่อสารหลังจากที่มีการคาดการณ์ว่า น้ำจะท่วมอย่างรุนแรงที่ไหนบ้าง ควรให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือ อปท. สื่อสารถึงตัวประชาชนโดยตรง โดยต้องระบุให้ชัดเจนด้วยว่า สถานการณ์จะเกิดรุนแรงอยู่ในระดับใด ที่ไหน จะต้องเก็บข้าวของขึ้นที่สูง หรือต้องอพยพออกมาและไปพักที่จุดใดบ้าง เป็นต้น
  • ซึ่งโดยทั่วไปผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอ ต้องเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ หรือเป็น commander จะสั่งการให้ดำเนินการในทันที ยิ่งในต่างประเทศจะมีการใช้ระบบ SMS สื่อสารเตือนภัย โดยส่งเข้าไปในระบบโทรศัพท์มือถือของคนที่อาศัยในพื้นที่โดยตรง เป็นต้น
  • แต่ปัจจุบันประเทศไทยนั้นยังไม่ได้การเตรียมความพร้อม และยังไม่มีมาตรการป้องกันวิกฤติดังกล่าวเลย จะต้องรอให้เกิดวิกฤติก่อนแล้วถึงจะประกาศให้พื้นที่เป็นเขตภัยพิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อนำงบประมาณออกมาแก้ไขและเยียวยาได้ ดังนั้น ตามกฎหมายจึงมีแต่เพียงมาตรการบรรเทาทุกข์แต่ไม่มีมาตรการป้องกันไว้ล่วงหน้า
  • ขาดแผนเผชิญเหตุฉุกเฉิน เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ดินถล่ม ทางราชการจะต้องประกาศเป็นเขตภัยพิบัติเพื่อนำงบประมาณออกมาใช้บรรเทาทุกข์ให้ประชาชนได้ ซึ่งทำได้ล่าช้ามากเนื่องจากติดที่ระบบราชการ ต้องมีหนังสือเป็นทางการส่งออกไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร? ต้องมีเวลาในการเตรียมอุปกรณ์ และเตรียมกำลังคน

อย่างไรก็ตามกรณีน้ำท่วมที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประชาชนจำนวนมากประสบภัยต้องติดอยู่บนหลังคา และติดอยู่ในบ้านเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2 วัน โดยหน่วยงานที่เข้าไปช่วยเหลือ และบรรเทาทุกข์ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของมูลนิธิ, จิตอาสา, สมาคม และภาคประชาสังคม ส่วนหน่วยราชการยังมีความล่าช้าเพราะติดระบบราชการ ยกเว้นหน่วยทหารที่สั่งการและออกปฏิบัติงานได้ทันที

เครดิต thairath.co.th