23/11/2024

ผลข่าว ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด

ผลข่าว อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด 24 ชั่วโมง

หมอลาออก : เมื่อแพทย์ไทยเรียน 6 ปี ขอทวงคืนความเป็นมนุษย์

หมอลาออก

หมอลาออก : เมื่อแพทย์ไทยขอทวงคืนความเป็นมนุษย์

เส้นทางสู่อาชีพแพทย์นั้นต้องใช้เวลาศึกษานานอย่างน้อย 6 ปี จนได้สัมผัสประสบการณ์หมออย่างเต็มตัว เมื่อเริ่มการอินเทิร์นในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข แต่นั่นกลับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้แพทย์มือใหม่ พบกับชีวิตจริงของแพทย์ไทย ที่จะต้อง “ควงกะ-ลากเวร” รวม 100-120 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จนเกิดกระแส หมออินเทิร์นลาออก อ่านข่าวเพิ่มเติม

หมอลาออก จาก “เครื่องจักร” สู่ “ทาสระบบ”

เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2566 ที่ผ่านมา พญ.นภสร “ปุยเมฆ” วีระยุทธวิไล นักแสดงสาวและแพทย์พี่เลี้ยงออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชบุรี ทวิตข้อความตีแผ่เกี่ยวกับเบื้องหลังการขอลาออกจากราชการ 

หลังที่ใช้ทุนทรัพย์ของตนเรียนมา 6 ปี จนได้เป็นแพทย์อินเทิร์น ประจำโรงพยาบาลใน จ.ราชบุรี ว่า “ช่วงนี้กระแสข่าวอินเทิร์นลาออกจากระบบกันเยอะ ขอพูดในฐานะคนที่เพิ่งตัดสินใจลาออกมา”

“งานในระบบหนักจริง… เสียทั้งสุขภาพกายและจิต” และ “ไปหางานที่เหมาะกับเราข้างนอกทำดีกว่า ไม่เป็นข้าราชการก็ไม่ตาย” ปุยเมฆ ทวิตข้อความ ก่อนที่ต่อมาจะขอลบโพสต์ เนื่องจากเริ่มส่งผลกระทบต่อคนที่โรงพยาบาล

หมอลาออก
"อยากให้คืนความเป็นมนุษย์ให้กับหมอ" พญ.ชุตินาถ ชินอุดมพร ตัวแทนจากสหภาพแพทย์ผู้ปฏิบัติ

สำหรับ พญ.ชุตินาถ ชินอุดมพร ตัวแทนจากสหภาพแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน ตามที่หมอปุยเมฆประสบมานั้น เกิดขึ้นกับ แพทย์อินเทิร์น แพทย์เพิ่มพูนทักษะ แทบทุกคน และที่หนักสุดทางเธอได้รับทราบผ่านเครือข่ายของสหภาพฯ คือ ทำงาน 120 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และควงเวรเกิน 32 ชั่วโมงติดต่อกัน

ตัวเธอมองว่า ชั่วโมงงานที่ยาวนานเป็นภาระงานที่หนักหน่วง เป็นผลพวงจากการเปิดช่องใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถทำงาน “ล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดได้เท่าที่จำเป็น” โดยต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง โดยไม่มีการกำหนดเพดานเป็นกฎหมายว่า ทำงานสูงสุดได้กี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ตัวอย่างสมัยที่ พญ.ชุตินาถ เป็นนักศึกษาฝึกงานปีสุดท้าย ที่โรงพยาบาลในภาคอีสาน เธอจะต้อง “ทำงานติดกัน 32 ชั่วโมง พัก 8 ชั่วโมง วันต่อมาทำงาน 7 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน เพราะเธอต้องดูห้องฉุกเฉินต่อ วันต่อมาได้พัก 6 ชั่วโมง แล้วก็ทำงานอีก 32 ชั่วโมง จนจำชื่อตัวเองไม่ได้เลย”

หมอลาออก
พญ.ชุตินาถ ต้องการให้มีกฎหมายควบคุมเวลาทำงานบุคลากรทางการแพทย์ที่ชัดเจน

เมื่อมีคำถามว่า ทำไมเธอต้องทุ่มเทขนาดนี้ เธอตอบว่า “ถ้าเราไม่ทำ ก็ไม่มีคนทำ… แม้ป่วยก็หยุดไม่ได้ ถ้าไม่มีคนแทน แม้ที่บ้านเราไม่สบาย ก็หยุดไม่ได้ เพราะเราทิ้งคนไข้ไม่ได้”

สิ่งที่ พญ.ชุตินาถ เผชิญนั้น เกิดขึ้นเมื่อหลายปีมาแล้ว ก่อนที่เธอจะตัดสินใจออกจากระบบนี้ ไปอยู่กับ รพ.เอกชน แต่ถึงอย่างนั้น เสียงสะท้อนจากบุคลากรทางการแพทย์ กลับมีแต่จะดังและถี่ขึ้นเรื่อย ๆ

“มันอยากจะกรีดร้องทุกวัน” เอิร์ธ-อติรุจ อาษาศึก อดีตแพทย์อินเทิร์น กล่าว

“สมัยเป็นอินเทิร์นเธอ อยู่ 13-15 เวรต่อเดือน เวรละ 16 ชั่วโมง 4 โมงเย็นถึง 8 โมงเช้าของอีกวัน” หมอเอิร์ธ เล่าถึงชีวิตตอนเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ที่ รพ.จังหวัดแห่งหนึ่ง ในภาคอีสาน ก่อนที่จะออกจากระบบในปีที่ 3 เพราะทนไม่ได้กับชีวิตที่ไม่มี เวิร์ค-ไลฟ์ บาลานซ์ (Work Life Balance)

เหตุผลที่เธอลาออกจากราชการ ไปเป็นแพทย์ รพ.เอกชน สำหรับตัวเธอมาจากฟางเส้นสุดท้าย ตอนที่เป็นแพทย์อายุรกรรม และรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโควิดปอดติดเชื้อ “เวรหนักมาก แพทย์ก็ติดโควิดไปด้วย… เราก็ต้องทำงานแทน” แต่ภาพที่เธอจำติดตา คือ “พยาบาลในชุดพีพีอี เป็นลมล้มลงไปเลย เพราะไม่ได้กินข้าวเลย จนถึงตี 2 ตี 3”

“ไม่รู้เลยว่าใครจะตายก่อนกัน ระหว่างคนไข้ที่นอนใส่เครื่องช่วยหายใจ หรือพี่พยาบาลเราที่ล้มลงไปแล้ว แต่ไม่มีใครเข้าไปช่วยได้” และนั่นทำให้เธอตัดสินใจลาออก เพราะรู้สึกเหมือนเป็น “ทาส”

หมอลาออก
งานโหลดช่วงโควิด คือฟางเส้นสุดท้ายของ พญ.ชุตินาถ

ชีวิตมีทางเลือกมากกว่าเป็น แพทย์ รพ.รัฐ

ในฐานะของแพทย์ที่อายุน้อยกว่า เอิร์ธ-อติรุจ ยอมรับว่า สาเหตุที่ลาออก ไม่ใช่เพราะภาระงานหนักแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะสภาพแวดล้อม ระบบอาวุโส และค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสม จนทำให้นานวันเข้าจึง “ไม่มีความสุขกับการทำงาน” 

หมอเป็นเครื่องจักรที่ถูกฝึกมายาวนาน เรื่องงานหนักไม่ได้ทำให้ต้องลาออก หมอเอิร์ธ กล่าว “แต่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เราก็รักษาคนไข้ได้เหมือนกัน” ทำให้ตนผันตัวมาเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสายงานอีกมากมาย สำหรับคนรุ่นใหม่

หมอเอิร์ธ มองว่า อินเทิร์น หรือแพทย์เพิ่มพูนทักษะ นั้นกลายเป็น “จุดต่ำสุดของการทำงาน” เพราะจะต้องเป็นด่านหน้าในการดูแลผู้ป่วย ต้องควงเวรยาวนานติดต่อกัน ทั้งที่เพิ่งเริ่มเป็นหมอเต็มตัวครั้งแรก และยังอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบราชการไทย ที่ถูกกดขี่ด้วยระบบอาวุโส และค่าตอบแทนที่ไม่สมเหตุสมผล

หมอเอิร์ธ ไม่แปลกใจกับข่าวการลาออกของแพทย์อินเทิร์นที่เพิ่มมากขึ้น อีกด้านกรณีของ หมอปุยเมฆ ซึ่งนี่เป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น เพราะปัญหาที่แท้จริงมักซุกอยู่ใต้พรม จากการที่ “อำนาจมืด” ในระบบราชการ กดดันไม่ให้แพทย์เหล่านี้ กล้าวิจารณ์ระบบ 

เพราะด้วยความกลัวถึงผลกระทบต่อการเรียนต่อ และอาชีพการงาน ในระบบสาธารณสุข ดังนั้นจึงมีแต่แพทย์ที่ออกจากระบบแล้ว อย่าง หมอปุยเมฆ และหมอเอิร์ธ ที่กล้าจะออกมาพูดเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา

หมอลาออก
"เรื่องงานหนักไม่ได้ทำให้ต้องลาออก” แต่ "ชีวิตมีทางเลือกมากกว่านั้น" หมอเอิร์ธ

หากยังไม่ดำเนินการในเชิงโครงสร้างจริง ๆ คนจะออกไปอีกแน่นอน ไม่ใช่แค่หมอจบใหม่ด้วยนะ แต่หมอที่อยู่ในโรงพยาบาลก็จะออกไปเยอะมากขึ้น เพราะภาระงานเขาเยอะขึ้น หมอจะแห่ออกไปเรื่อย ๆ แล้วคนที่อยู่ต่อก็มีแต่งานเยอะขึ้น ค่าตอบแทนเท่าเดิม มีสภาพแวดล้อมที่กดดันเยอะขึ้น ต้องอยู่เวรเยอะขึ้น อดหลับอดนอนมากขึ้น

เมื่อถามว่า แล้วมีปัจจัยอะไรที่เป็นแรงจูงใจให้เป็นแพทย์โรงพยาบาลรัฐ หมอเอิร์ธตอบว่า มีเพียงอย่างเดียว คือ “ตำแหน่งข้าราชการ” ที่ก็ไม่เพียงพอในแต่ละปี และยังเป็นอีกปัจจัย ที่ทำให้นักศึกษาแพทย์ไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้