21/09/2024

ผลข่าว ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด

ผลข่าว อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด 24 ชั่วโมง

งบประมาณปี 67 ฝ่ายค้านตั้งฉายา “เป็ดง่อย” ไร้ประสิทธิภาพ

งบประมาณปี 67

งบประมาณปี 67 ไทย นายกฯ ไร้ประสิทธิภาพ ฝ่ายค้านตั้งฉายา “เป็ดง่อยก” ด้านนายกฯ ระบุจะใช้ภาษีอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

“พวกท่านเคยวิจารณ์รัฐบาลก่อนหน้าว่าเป็น ‘นักกู้แห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา’ เที่ยวนี้ผมว่ากลายเป็น ‘นักกู้ถุงเท้าสีชมพู’ ท่านกู้เพิ่มขึ้นแสนล้าน ผมขอถามครับว่าท่านเอาไปทำอะไรครับ ไปแบ่งเค้กกันยังไงที่กู้เพิ่มมาแสนล้านนี้ เสียเวลาไปทำ 3-4 เดือน” นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าว อ่านข่าวเพิ่มเติม

งบประมาณปี 67 จากการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วงเงินรวม 3.48 ล้านล้านบาท เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 3-5 ม.ค. นี้

ถือเป็นการจัดทำงบประมาณครั้งแรกของรัฐบาลผสมกับ 11 พรรค รวม 314 เสียง ซึ่งฝ่ายค้านเผยว่า “ผิดหวังอย่างถึงที่สุด” และรุมตั้งสารพัดฉายา อาทิ “งบเป็ดง่อย” “งบเบี้ยหัวแตก”

ล่าสุดเลยกำหนดวันเริ่มต้นปีงบประมาณ 2567 ซึ่งต้องเริ่มต้นตั้งแต่ 1 ต.ค. 2566 แต่เนื่องจากการจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง 14 พ.ค. 2566 เป็นไปอย่างล่าช้าเป็นอย่างมาก จึงส่งผลกระทบต่อกระบวนการจัดทำงบประมาณ 

งบประมาณปี 67

เมื่อรัฐบาล “เศรษฐา” เข้าบริหารราชการแผ่นดิน ได้มีคำสั่งให้ทบทวนงบประมาณที่รัฐบาล “ประยุทธ์” จัดทำเอาไว้ โดยใช้เวลาราว 3 เดือน ในระหว่างนี้สำนักงบประมาณต้องแจ้งหน่วยรับงบประมาณให้ใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของงบประมาณปี 2566 ไปพลาง ๆ ก่อน

ในปี 2567 นี้ จะมีกฎหมายงบประมาณแผ่นดินเข้าสู่การพิจารณา 2 ฉบับ ทั้งงบปี 2567 และปี 2568

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง นำเสนอหลักการของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2567 ต่อที่ประชุมสภา ก่อนที่จะเปิดให้สมาชิกอภิปราย 3 วัน โดยรัฐบาลกับฝ่ายค้านได้เวลาฝ่ายละ 20 ชม. ทั้งนี้พรรคก้าวไกล (ก.ก.) แม้ชนะการเลือกตั้ง แต่ต้องตกที่นั่งผู้นำฝ่ายค้านในสภา เปิดอภิปรายภายใต้ธีม “วิกฤติแบบใด ทำไมจัดงบแบบนี้”

นายเศรษฐา ทวีสิน แจงขอตั้งงบเพิ่ม คาดเก็บภาษีได้เพิ่ม 11%

นายเศรษฐา ทวีสิน กล่าวนำเสนอ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2567 วงเงินรวม 3,480,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 18.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้นจากงบประมาณปี 2566 จำนวน 295,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการจัดตั้งงบประมาณแบบขาดดุล ทั้งนี้รัฐบาลประมาณการรายได้สุทธิไว้ที่ 2,787,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 14.7% ของ GDP

อีกทั้งยังกำหนดวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 693,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.6% ของจีดีพี

การจัดทำงบประมาณของรัฐบาลอยู่บนพื้นฐานการคาดการณ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ว่า เศรษฐกิจของไทยในปี 2567 จะมีโอกาสขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.7-3.7% อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วง 1.7-2.7% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.5% ของจีพีดี

นายกฯ รายงานฐานะการคลังต่อสภาว่า หนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 ต.ค. 2566 มีจำนวน 11,125,428.1 ล้านบาท หรือคิดเป็น 62.1% ของจีดีพี ส่วนฐานะเงินคงคลัง (ณ 31 ต.ค. 2566) มีจำนวน 297,093.6 ล้านบาท โดย “รัฐบาลจะบริหารเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และบริหารรายรับและรายจ่ายของรัฐให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด”

งบประมาณปี 67

ภาพรวมจากการจัดทำงบประมาณของรัฐบาลนายเศรษฐา มีแนวทางไม่ต่างจากรัฐบาลชุดก่อนหน้าที่วงเงินก้อนใหญ่ถูกใช้ไปกับรายจ่ายประจำถึง 72.8% หรือ 2,532,826.9 ล้านบาท นอกจากนี้ยังเสนอตั้งงบกลาง 606,765 ล้านบาท คิดเป็น 17.4% ของวงเงินงบประมาณ โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 16,295 ล้านบาท

“ถึงแม้ว่างบประมาณรายจ่ายปีนี้จะเพิ่มขึ้น 9.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่รัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้ได้มากขึ้นกว่า 11.9% ทำให้สามารถจัดสรรงบไปลงทุนได้กว่า 717,722.2 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 4.1% และสามารถชดใช้เงินคงคลังและชำระคืนต้น

เงินกู้ได้กว่า 118,361.1 ล้านบาทอีกด้วย ซึ่งจะทำเป็นการเตรียมพร้อมทำให้รัฐบาลมีกรอบในการลงทุนในระยะกลางและยาวมากขึ้นในปีงบประมาณ 2568 อีกด้วย” นายเศรษฐากล่าว

นายเศรษฐา ย้ำว่า นี่จะเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินนโยบายทั้งในระยะสั้นและยาว โดยรัฐบาลจะดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ ใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีเป้าหมายที่จะบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ลงทุนเพื่อสร้างการเจริญเติบโตของประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และเป็นไปตามกฎหมาย

ชัยธวัชตั้งฉายา “รัฐบาลรวมการเฉพาะกิจ” ตั้งงบเบี้ยหัวแตก-สะเปะสะปะ-ไร้ซึ่งเป้าหมาย

นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ (พรรคก้าวไกล) ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านของสภาผู้แทนราษฎร ลุกขึ้นอภิปรายเป็นคนแรก โดยบอกว่า ฟังนายกฯ แล้วทำให้นึกถึงบรรยากาศวันแถลงนโยบายของ ครม. ต่อรัฐสภา เมื่อ 11 ก.ย. 2566 

เพราะว่าเต็มไปด้วยคำพูดสวยหรู นายกฯ คนก่อนหน้าก็มาอ่านแบบนี้ เอาภารกิจของทุกกระทรวงทุกหน่วยงานมาเรียบเรียง แล้วผลเป็นอย่างไร สวยหรูหรือไม่ ทุกคนทราบดี

วันแถลงนโยบาย นายกฯ บอกว่าประเทศกำลังเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญและมีนโยบายเร่งด่วน ต่อมากลางเดือน ก.ย. 2566 ครม. สั่งให้ทบทวนและปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. งบประมาณปี 67 ใหม่ แต่ทว่า 3 เดือนผ่านไป พบว่า เนื้อหาในกฎหมายงบประมาณฉบับนี้แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ และไม่ยึดโยงกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลเลย

สำหรับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่นายชัยธวัชเผยว่า ไม่ปรากฏการเสนอจัดตั้งงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย อาทิเช่น 

งบประมาณปี 67

นโยบายแก้ปัญหาหนี้สินทั้งภาคเกษตร ธุรกิจ และภาคประชาชน, นโยบายสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว, นโยบายลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะการลดค่าไฟ ที่ไม่มีการตั้งงบไปชดเชยหนี้ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), นโยบายให้คนไทยมีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ซึ่งไม่มีการตั้งงบทำประชามติเอาไว้

เช่นเดียวกันกับนโยบายที่ถูกระบุว่าเป็น “เรือธง” ของรัฐบาล หรือมีมติ ครม. อนุมัติให้ดำเนินการแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ดิจิทัลวอลเล็ต, การขึ้นเงินเดือนข้าราชการ, ลดภาษีรถไฟฟ้า (EV), ซอฟต์พาวเวอร์ ก็ยังไม่เห็นงบประมาณในส่วนนี้

ชัยธวัช ตุลาธน หารือกับ รังสิมันต์ โรม กลางสภา เมื่อ 3 ม.ค.

ผู้นำฝ่ายค้านได้วิจารณ์ว่า การจัดทำงบประมาณปีนี้เป็น “เบี้ยหัวแตก สะเปะสะปะ ไม่มียุทธศาสตร์ ทำงานเหมือนไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน หลายเรื่องหน้าปกดูดี แต่พอเข้าไปดูไส้ในไม่โยงกับเป้าหมายทางนโยบาย ส่วนใหญ่เป็นโครงการเดิมเอามาเปลี่ยนปกใหม่” 

โดยมีโครงการใหม่เพียง 200 โครงการ จากทั้งหมด 2,000 โครงการที่ขอตั้งงบรายจ่ายไว้ ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพราะมีหน่วยงานใหม่ ไม่ใช่เกิดขึ้นเพื่อผลักดันวาระของรัฐบาล ด้วยสภาพแบบนี้จึงมองไม่เห็นวาระเป้าหมายทางนโยบาย

หลังได้ไล่เลียงภาพรวมงบประมาณปี 67 ที่เขาใช้คำว่า “น่าผิดหวังอย่างถึงที่สุด” นายชัยธวัชดึงประเด็นกลับไปที่จุดเริ่มต้นของเรื่อง โดยบอกว่าเป็นผลจาก “รัฐบาลรวมการเฉพาะกิจ” ไม่มีวาระเป้าหมายทางนโยบายที่จะขับเคลื่อนร่วมกัน เป็นการรวมการเฉพาะกิจเพื่อแบ่งปันอำนาจกัน แบ่งกันกินแบ่งกันใช้ชั่วคราว 

จึงเห็นการจัดตั้ง ครม. แบบผิดฝาผิดตัว เพราะไม่ได้แบ่งงานตามวาระเป้าหมาย แต่แบ่งตามโควตาการเมือง จากเคยบอก “คิดใหญ่ ทำเป็น” กลายเป็น “คิดไป ทำไป” “คิดสั้น ไม่คิดยาวมาก” “คิดอย่าง ทำอย่าง” ก็มี

“หากการจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้จะมีวาระร่วมกันจริง ๆ ผมเห็นว่ามันคงเป็น ‘วาระเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตทางอำนาจของชนชั้นนำ’ เพราะสภาวะการเข้าสู่อำนาจของรัฐบาลชุดนี้ ก็ได้แสดงออกอย่างโจ่งแจ้งว่านี่เป็นการรวมตัวกันเพื่อรักษาสถานะทางอำนาจของชนชั้นนำสังคมไทย 

รวมตัวกันเพื่อพยายามฝืนความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย เพื่อปกป้องพลังสังคมแบบจารีต และร่วมกันต่อต้านพลังทางสังคมใหม่ ๆ ที่ต้องการอนาคตที่ดีกว่านี้” นายชัยธวัชกล่าว