กฎหมายสมรสเท่าเทียม LGBTQ+ ผ่านแล้ว ไทยกำลังจะเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ถัดจากไต้หวันและเนปาล
สำหรับประเด็นการผ่านร่างกฎหมาย “สมรสเท่าเทียม” ของสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ ส่งผลให้ไทยกำลังจะเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ถัดจากไต้หวันและเนปาล และเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎหมายแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกัน อ่านข่าวเพิ่มเติม
หลังจากนี้สภาจะส่งร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ให้วุฒิสภาเพื่อพิจารณาในวาระ 2-3 หากได้รับความเห็นชอบ นายกรัฐมนตรีก็จะนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้ต่อไป
กฎหมาย สมรสเท่าเทียม ผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้วเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 ด้วยคะแนนเสียง 400 เสียง ตอนนี้ร่างกฎหมายอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของวุฒิสภา คาดว่าจะผ่านวาระสามและประกาศใช้เป็นกฎหมายได้เร็ว ๆ นี้
รายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับกฎหมาย “สมรสเท่าเทียม”
- บุคคล 2 คนที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ไม่ว่าเพศใด สามารถหมั้นและจดทะเบียนสมรสกันได้
- เปลี่ยนคำใน ป.พ.พ. โดยมาตรา 1448 จากคำนามที่ระบุเพศ ตัวอย่างเช่น ชาย-หญิง สามี-ภรรยา เป็นคำนามไม่ระบุเพศ อาทิ บุคคล คู่สมรส ผู้หมั้น ผู้รับหมั้น
- คู่สมรสมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสชายหญิงทั่วไปเคยได้รับสิทธิอย่างไรจะไม่เสียสิทธิแม้แต่น้อย และจะคุ้มครองคนส่วนหนึ่งไม่ว่าจะเป็นLGBTQ+หรือคนข้ามเพศหรือรูปแบบใด จะเป็นการคืนสิทธิให้กับคนกลุ่มนี้ ไม่ใช่เป็นการให้สิทธิขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิการรักษาพยายาล การลดหย่อนภาษี รวมถึงการเซ็นยินยอมให้เข้ารักษาพยาบาล
- คู่สมรสสามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้
- กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ทันทีหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน
หัวหน้าพรรคร่วมยินดี
หลังจากที่มีมติรับร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมผ่าน ด้าน นาย ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกลได้โพสต์แสดงความยินดี เช่นเดียวกับ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ที่โพสต์แสดงความยินดี และชื่นชมทีมงานพรรคก้าวไกล ที่มุ่งมั่นทำงานผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียมมาตั้งแต่สมัยอนาคตใหม่