พะยูนเกยตื้น บริเวณเกาะลิบง ร่างกายผอมโซมีแผลหลุมลึก 7.5 ซม.

พะยูนเกยตื้น

พะยูนเกยตื้น บริเวณเกาะลิบง ร่างกายผอมโซ พบเชือกไนลอนในกระเพาะอาหาร

พะยูน หรือน้องหมูน้ำ เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ล่าสุดพบพะยูนเกยตื้น บริเวณเกาะลิบง ร่างกายผอมโซ อ่านข่าวเพิ่มเติม

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ออกมาเผยแพร่ผลการชันสูตร “ซากพะยูนที่เกยตื้น” บริเวณปากคลองบ้านพร้าว เกาะลิบง พบความผิดปกติหลายระบบ

พะยูนเกยตื้น

วานนี้วันที่ 8 มีนาคม 2567 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ศวอล.) ได้รับแจ้งจากนายวิสุท สารสิทธิ์ เครือข่ายช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก เกาะลิบง จังหวัดตรัง เรื่องพบซากพะยูน เกยตื้น ณ บริเวณปากคลองบ้านพร้าว ต.เกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

เจ้าหน้าที่ ศวอล. ร่วมกับเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จังหวัดตรัง ในการเข้าตรวจสอบและขนย้ายซากเพื่อมาชันสูตรยังศูนย์วิจัยฯ

พะยูนเกยตื้น

จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า เป็นซากพะยูน (Dugong dugon) เพศผู้ โตเต็มวัย ความยาวลำตัววัดแนบ 265 ซม. คะแนนความสมบูรณ์ของร่างกายอยู่ในเกณฑ์ผอม (Body condition score, BCS = 1/5)

สภาพซากสด มีลักษณะภายนอกมีแผลหลุมลึก ยาว 7.5 x 4 ซม. บริเวณข้างลำตัวด้านบนครีบข้างซ้าย เมื่อเปิดผ่าดูอวัยวะภายใน พบก้อนลิ่มเลือดสีขาวอยู่ในหัวใจห้องบนขวาซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากการเสียชีวิตและมีเลือดคั่งในหัวใจ

พะยูนเกยตื้น

บริเวณทางเดินหายใจ พบฟองอากาศภายในหลอดลมและเนื้อเยื่อปอด คาดว่าเกิดจากการสำลักน้ำ บริเวณม้ามพบจุดเลือดออกกระจายเป็นหย่อม ๆ พบปื้นเลือดออกและเลือดคั่งที่เนื้อเยื่อไต

บริเวณทางเดินอาหาร พบเศษหญ้าทะเลเล็กน้อยและพยาธิตัวกลมจำนวนมาก บริเวณลำไส้พบก้อนเนื้อขนาด 2 x 1 ซม. และก้อนหนองขนาด 1 x 1 ซม. และพยาธิใบไม้เล็กน้อย ตับอ่อนพบลักษณะบวมน้ำและมีเลือดคั่ง และพบเศษเชือกไนลอนในกระเพาะอาหารแต่ไม่ใช่สาเหตุการเสียชีวิต

สรุปสาเหตุการตาย พะยูน คาดว่าป่วยตามธรรมชาติ เนื่องจากพบความผิดปกติจากหลายระบบ ป่วยเรื้อรังเป็นระยะเวลานานร่วมกับภาวะอ่อนแอจากวัยแก่ จึงทำให้สัตว์เสียชีวิตในที่สุด ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้ทำการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *