สายหวาน ต้องระวัง WHO เตรียมประกาศเตือน แอสปาร์แตม อาจก่อมะเร็ง
อนามัยโลกเตรียมออกประกาศ “แอสปาร์แตม” อาจก่อมะเร็ง โดยสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ในวันที่ 14 ก.ค. ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) เตรียมประกาศจัดประเภทสารให้ความหวานแทนน้ำตาล “แอสปาร์แตม” (Aspartame) ให้เป็นสารที่อยู่ในกลุ่ม “เป็นไปได้ว่าจะก่อมะเร็ง” (possible carcinogen) อ่านข่าวเพิ่มเติม
จากข้อความข้างต้นสร้างความตื่นตระหนกและวิตกกังวลให้กับผู้บริโภคสารแทนน้ำตาลชนิดดังกล่าวนี้ เพราะถือเป็นส่วนผสมหลักในน้ำอัดลมแคลอรีต่ำและเครื่องดื่มน้ำตาล 0% ยี่ห้อต่าง ๆ นั่นเอง
สายหวาน เตรียมฟังประกาศองค์การอนามัยโลก
แผนการดังกล่าวนี้เป็นผลพวงมาจากการประเมินทบทวนงานวิจัย 1,300 ชิ้น โดยจัดทำขึ้นล่าสุดด้วยองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยมะเร็ง (IARC) หน่วยงานในสังกัดขององค์การอนามัยโลก
ความน่าเชื่อถือของผลประเมินทบทวนงานวิจัยดังกล่าว รวมไปถึงความน่าเชื่อถือของ IARC นั้น ที่ผ่านมาถูกตั้งคำถามจากสาธารณชนมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นองค์กรที่ขึ้นชื่อว่ามักสร้างความสับสนในการให้ข่าวสารด้านสุขภาพกับประชาชน รวมทั้งมีระบบการจัดประเภทสารก่อมะเร็งที่คลุมเครือและไม่ชัดเจนอีกด้วย
ปัจจุบัน IARC จำแนกสารต่าง ๆ ออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 คือสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (carcinogenic) ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูป, ยาสูบ, แร่ใยหินแอสเบสตอส (asbestos)
กลุ่ม 2A คือสารที่อาจก่อมะเร็งในมนุษย์ (probably carcinogenic) ตัวอย่างเช่น สารกำจัดวัชพืชไกลโฟเสต (glyphosate)
กลุ่ม 2B คือสารที่มีความเป็นไปได้ว่าจะก่อมะเร็งในมนุษย์ (possible carcinogenic)
กลุ่มที่ 3 ไม่สามารถจำแนกได้
ซึ่งในครั้งนี้ IARC เตรียมจัดให้ “แอสปาร์แตม” อยู่ในกลุ่ม 2B หมายถึง มีหลักฐานยืนยันจำนวนจำกัดจากผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบการก่อมะเร็งในมนุษย์หรือสัตว์ทดลองเพียงไม่กี่กรณีเท่านั้น แต่ยังถือว่าเป็นหลักฐานที่ไม่หนักแน่นพอและยังไม่อาจใช้สรุปได้ว่าเป็นสารก่อมะเร็งอย่างแน่นอนหรือไม่
สิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่มของ 2B เช่นเดียวกัน ได้แก่ น้ำมันดีเซล, นิกเกิล, แป้งทัลคัมที่ตกค้างบริเวณฝีเย็บของสตรี, ว่านหางจระเข้, ผักดองหลากหลายชนิดของชาวเอเชีย รวมไปถึงคลื่นสัญญาณโทรศัพท์มือถือซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าก่อมะเร็งจริงหรือไม่
อีกด้าน ศาสตราจารย์ เควิน แม็กคอนเวย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Open University ของสหราชอาณาจักร กล่าวว่า “การจัดประเภทสารก่อมะเร็งของ IARC ไม่ได้จะบอกอะไรเราเลยเกี่ยวกับอัตราความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคมะเร็งจากการบริโภคแอสปาร์แตม”
“การจัดประเภทนี้บอกเราเพียงว่า มีหลักฐานยืนยันหนักแน่นแค่ไหน ที่บ่งชี้ว่าแอสปาร์แตมอาจจะเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง” ศ. แม็กคอนเวย์กล่าว “การที่มันถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม 2B นั้นแสดงว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้อยู่น้อยมากสำหรับประเด็นนี้ ไม่อย่างนั้นแอสปาร์แตมน่าจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม 1 หรือ 2A ไปแล้ว”
ปัจจุบันแอสปาร์แตมนำมาเป็นส่วนผสมหลักในอาหารและเครื่องดื่ม
ปัจจุบันแอสปาร์แตมเป็นส่วนผสมหลักในอาหารและเครื่องดื่มที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดถึง 6,000 ชนิด การเตรียมประกาศให้แอสปาร์แตมอยู่ในกลุ่มสารที่เป็นไปได้ว่าจะก่อมะเร็งนั้นจึงสร้างความปั่นป่วนโกลาหลเป็นอย่างมากให้กับแวดวงอุตสาหกรรมอาหาร ผู้เชี่ยวชาญจำนวนไม่น้อยยังมองว่า แผนการของ IARC เป็นการสร้างความตื่นตระหนกโดยใช่เหตุ
ถึงแม้ว่าช่วงปลายเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา WHO จะได้ออกแถลงว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาลไม่มีประโยชน์ต่อการลดน้ำหนักและการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
แต่คำแนะนำล่าสุดของ WHO เองยังคงยืนยันว่า คนทั่วไปสามารถบริโภคแอสปาร์แตมได้โดยปลอดภัย หากไม่ได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากผิดปกติ โดยคนที่มีน้ำหนักตัว 68 กิโลกรัม สามารถบริโภคแอสปาร์แตมได้ในปริมาณเท่ากับที่ผสมในน้ำอัดลม 13 กระป๋องต่อวัน
คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญร่วมระหว่าง WHO และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (JECFA) เตรียมตัวจะประกาศคำตัดสินเรื่องแอสปาร์แตมก่อมะเร็งหรือไม่ในวันที่ 14 ก.ค. ที่จะถึงนี้เช่นกัน
ยังคงให้คำแนะนำว่าคนทั่วไปยังคงสามารถบริโภคสารแทนน้ำตาลชนิดนี้ได้อย่างปลอดภัย ในปริมาณไม่เกิน 40 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งหมายความว่าผู้ที่หนัก 75 กิโลกรัม สามารถบริโภคแอสปาร์แตมได้มากถึง 2,730 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นต้น
เครดิต BBC.COM
เรื่องราวเพิ่มเติม
บริษัท AstraZeneca ยอมรับวัคซีนโควิด19 เสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน
น้องแคร์หายตัว สาววัย 26 ปี หายตัวปริศนาถูกจับตัวที่มาเลเซีย
แพทย์นิติเวช เผยการเสียชีวิตผู้รับวัคซีนโควิด19 mRNA ไม่จริง