21/09/2024

ผลข่าว ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด

ผลข่าว อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด 24 ชั่วโมง

สรุปดราม่าไข่ต้ม ด.ญ.ใยบัว กินข้าวคลุกน้ำปลา แบบเรียน ป.5

สรุปดราม่าไข่ต้ม

สรุปประเด็นร้อน ในหนังสือวิชาภาษาไทย ป.5 ที่ให้ข้อคิดเรื่องคุณค่าชีวิต ผ่านเรื่องราวของ “ด.ญ.ใยบัว” กินข้าวคลุกน้ำปลา กับไข่ต้มครึ่งซีก ทำโซเชียลเดือดวิจารณ์สนั่น อ่านข่าวเพิ่มเติม

สรุปดราม่า "ด.ญ.ใยบัว" กินไข่ต้มครึ่งซีกกับข้าวคลุกน้ำปลา

เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในโลกโซเชี่ยลอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้เมื่อแฟนเพจเฟซบุ๊ก มาดามแคชเมียร์ ได้โพสต์ภาพหนังสือวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในเนื้อหาของหนังสือนั้น กล่าวถึงเรื่องราวของ ด.ญ.ใยบัว

โดย ด.ญ.ใยบัว เป็นเด็กที่บ้านมีฐานะร่ำรวย มานั่งตัดพ้อชีวิตกับข้าวปุ้น เพื่อนรักที่โรงเรียน ว่า “อยากตาย” หลังจากพ่อแม่ไม่เปลี่ยนโทรศัพท์มือถือใหม่ให้ เพราะมองว่าสิ้นเปลือง ข้าวปุ้นจึงชวนเพื่อนไปที่บ้านเด็กกำพร้าที่เธออาศัยอยู่ เพื่อให้เพื่อนไปเรียนรู้ชีวิตที่แตกต่าง เผื่อจะเปลี่ยนความคิด และมองเห็นคุณค่าของชีวิตมากยิ่งขึ้น

สรุปดราม่าไข่ต้ม

โดยประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันนั้น คือ การบรรยายอาหารการกินของเด็กภายในบ้านของข้าวปุ้นว่า 

“…เมื่อถึงเวลาอาหารกลางวัน ทุกคนนั่งล้อมวงเป็นวงใหญ่ กับข้าวแบ่งเป็น 2 ชุด จานแรกเป็นผัดผักบุ้ง จานที่ 2 เป็นไข่ต้มผ่าครึ่งตามจำนวนคน โดยแต่ละคนตักผักบุ้งพอรับประทาน และไข่ต้มคนละซีก…” 

สรุปดราม่าไข่ต้ม

ทั้งนี้ ข้าวปุ้นยังได้แนะนำให้ใยบัว ใช้ช้อนบี้ไข่กับข้าว และเหยาะน้ำปลา เพื่อให้กินกับและข้าวได้อย่างพอดีกัน

ซึ่งทำเอาชาวโซเชี่ยลวิจารณ์อย่างหนัก มีเจ้าของโพสต์หนึ่ง ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า 

สรุปดราม่าไข่ต้ม

“โปรตีนจากไข่ต้มหนึ่งซีก 1.75 กรัม ข้าวคลุกน้ำปลาโซเดียมหนัก ๆ ผัดผักบุ้งก็มีโซเดียมจากเครื่องปรุงแน่ ๆ ความสุขอยู่ที่ใจ พอเพียงน้ำตาจะไหล FYI, เด็กโตวัย 7-14 ปี ต้องการโปรตีนวันละ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. สมมติว่าเด็กน้ำหนัก 40 กก.ก็ต้องกินโปรตีน 40 กรัมต่อวัน”

หลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ชาวเน็ตต่างมีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ต่างเห็นด้วยกับโพสตืดังกล่าวว่า การกินอาหารของเด็กในเนื้อหานั้นไม่ถูกกับหลักโภชนาการ ทั้งยังตำหนิถึงการกระทำของตัวละครภายในเรื่องว่า สิ่งที่ทำนั้นไม่เรียกพอเพียง แต่เรียกอดอยาก เพราะแต่สารอาหารมันไม่เพียงพอต่อความต้องการ และร่างกายของเด็ก