22/09/2024

ผลข่าว ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด

ผลข่าว อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด 24 ชั่วโมง

สมรสเท่าเทียม ส่องกฎหมายเพศไหนก็แต่งงานกันได้หลังมีมาปี 2000

สมรสเท่าเทียม

สมรสเท่าเทียม ส่องกฎหมายเพศไหนก็แต่งงานกันได้

ณ ปัจจุบันความหลากหลายทางเพศต่างเป็นที่ยอมรับกว้างขวางยิ่งขึ้น ทำให้ ‘กฎหมายสมรส(เท่าเทียม)’ เป็นที่ยอมรับมากขึ้นตามไปด้วย โดยเริ่มใช้ครั้งแรก เมื่อปี 2000 ก่อนที่หลาย ๆ ประเทศจะเริ่มทยอยออกกฎหมายนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง อ่านข่าวเพิ่มเติม

เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2000 เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรกในโลก ที่ทำให้การแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกันถูกกฎหมาย โดยรัฐสภาเนเธอร์แลนด์โหวตผ่านกฎหมายด้วยคะแนน 3 ต่อ 1 เสียง สาระสำคัญในกฎหมายดังกล่าวคือ “อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงาน หย่าร้างและสามารถรับเลี้ยงบุตรได้”

กระบวนการทางกฎหมายดังกล่าวได้แก้ไขกฎหมายสมรสที่มีอยู่แล้วเพียงประโยคเดียวเท่านั้นคือ “การแต่งงานสามารถทำได้ระหว่างคนสองคนที่มีเพศแตกต่างกันหรือเพศเดียวกัน”

สมรสเท่าเทียม

มีคนกลุ่มเดียวที่คัดค้านในรัฐสภาเนเธอร์แลนด์ซึ่งมาจากพรรคประชาธิปไตยคริสเตียน ในขณะนั้นไม่ได้ร่วมกับรัฐบาลผสม หลังจากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ กลุ่มคริสตจักรโปรเตสแตนต์ในเนเธอร์แลนด์ราว 12% ของประชากรในประเทศทั้งหมดประกาศว่า 

คริสต์ศาสนิกชนสามารถเลือกได้ว่าจะจัดงานแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกันหรือไม่ และแม้ว่ากลุ่มชาวมุสลิม และกลุ่มคริสเตียนหัวอนุรักษนิยมจะยังคงต่อต้านกฎหมายต่อไป แต่กฎหมายสมรสของคู่รักเพศเดียวกันก็ได้รับการยอมรับในสังคมเนเธอร์แลนด์เป็นวงกว้าง

สมรสเท่าเทียม

สำหรับประเทศไทยนั้น มี พ.ร.บ.คู่ชีวิต มาตั้งแต่ปี 2556 คนไทยมีความคิดเห็นต่อ พ.ร.บ. นี้โดยแบ่งเป็นสองกลุ่มหลัก ๆ ด้วยกัน กลุ่มแรกมองว่าเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้เพศหลากหลายได้รับสิทธิที่ตนควรได้รับ จากเดิมที่ไม่มีอะไรเลย และอีกด้านไม่เห็นด้วยเพราะเชื่อว่า สิทธิของ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับการสมรสของคู่รักต่างเพศ

ยกตัวอย่างเช่น ไม่มีสิทธิรับสวัสดิการของคู่ชีวิตอีกคนที่รับราชการ สิทธิการขอสัญชาติไทยให้คู่ชีวิตที่เป็นชาวต่างชาติ เป็นต้น ดังนั้น พ.ร.บ.คู่ชีวิต จึงยังไม่เป็นที่ยอมรับจากสังคม เพราะยังไม่เท่าเทียม 100 เปอร์เซ็นต์ โดยกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยมองว่า ไม่ว่าจะเพศใดก็ควรได้รับสิทธิเท่าเทียมกันในฐานะมนุษย์ด้วยกัน

สมรสเท่าเทียม

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดประเทศไทยเองมีการขับเคลื่อนและรณรงค์เรื่อง “กฎหมายสมรสเท่าเทียม” เพื่อเรียกร้องสิทธิให้แก่กลุ่ม LGBTQIA+ อย่างต่อเนื่อง โดยร่างกฎหมายเพื่อถูกนำไปพิจารณาในสภาฯ หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

จากความเคลื่อนไหวล่าสุดเป็นการลงมติรับหลักการวาระที่หนึ่งเท่านั้น เส้นทางการพิจารณากฎหมายนี้ยังอีกยาวไกล แต่ถือเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทย ที่จะผลักดันให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น และประชาชนสามารถแต่งงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถเข้าถึงสวัสดิการต่าง ๆ เช่นเดียวกับการสมรสระหว่างชายและหญิง