ซูเปอร์บลูมูน 14 ปีจะเกิดสักครั้ง ย้อนชมปรากฎการณ์ครั้งนี้

ซูเปอร์บลูมูน

ซูเปอร์บลูมูน (super blue moon) 14 ปีจะเกิดสักครั้งในไทยและทั่วโลก

ย้อนชมภาพปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่หาดูได้ยากสำหรับ super blue moon ที่รับชมได้ด้วยตาเปล่า เมื่อคืนที่ผ่านมา 30 ส.ค. อ่านข่าวเพิ่มเติม

ปรากฏการณ์นี้เรียกได้ว่าไม่ธรรมดา เพราะเกิดปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงจันทร์ 2 เหตุการณ์พร้อมกัน คือ “ซูเปอร์มูน (supermoon)” และ “บลูมูน (blue moon)”

ปรากฏการณ์ซูเปอร์มูน มักเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์โคจรเข้าใกล้โลกที่สุด หรือมีระยะห่างจากโลกประมาณ 357,334 กิโลเมตร จึงทำให้มันมีขนาดใหญ่ และส่องสว่างมากกว่าปกติในท้องฟ้ายามค่ำคืน

ส่วนบลูมูน คือ ดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ของเดือนเดียวกัน ปกติแล้วดวงจันทร์โคจรรอบโลกใช้เวลาประมาณ 29.5 วัน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะมีดวงจันทร์เต็มดวงถึง 2 ครั้งในเดือนเดียวกัน โดยปกติจะห่างกันประมาณ 20 วัน แต่หากดวงจันทร์เต็มดวงเกิดขึ้นในคืนแรกของเดือน และคืนสุดท้ายของเดือนเดียวกัน ก็จะเกิดบลูมูนขึ้น

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ NARIT ระบุว่า เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 66 ตามเวลาประเทศไทย  ดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย หากเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงในช่วงเวลาปกติ โดยมีขนาดใหญ่กว่าเดิมประมาณ 7% และสว่างเพิ่มขึ้นประมาณ 15%

เวลาที่เหมาะสมในการสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนี้ คือช่วงเย็นวันที่ 30 ส.ค. ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:09 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้า ของวันที่ 31 ส.ค. สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า เมื่อมองไปทางทิศตะวันออก

ซูเปอร์บลูมูน
ภาพเหนือวิหารโปเซดอน ใกล้กรุงเอเธนส์ของกรีซ
ซูเปอร์บลูมูน
ภาพจากประเทศไทย
ซูเปอร์บลูมูน
ภาพในตุรกี
ซูเปอร์บลูมูน
ภาพจากประเทศอียิปต์

หากใครที่พลาดชมครั้งนี้จะต้องรออีก 14 ปี ปรากฏการณ์ซูเปอร์บลูมูน จะกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2580

เครดิต BBC.COM

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *