นักโภชนาการเตือน ใช้พลาสติกห่ออาหาร 4 วิธีผิดๆ 2568

นักโภชนาการเตือน

นักโภชนาการเตือน ใช้พลาสติกห่ออาหาร 4 วิธีผิดๆ เปรียบเสมือน วางยาพิษ ตัวเอง

ใช้พลาสติกแรปอาหารผิดวิธี อาจทำร้ายสุขภาพโดยไม่รู้ตัว เผยคำเตือน 4 ข้อ จากนักโภชนาการอ่านผลข่าวเพิ่มเติม

โดย นักโภชนาการเตือน แม้พลาสติกแรปอาหารจะเป็นของใช้คู่ครัวที่สะดวกและดูสะอาด แต่ในทางกลับกัน หากถูกนำมาใช้งานอย่างไม่ถูกวิธี ก็อาจกลายเป็นภัยเงียบที่ทำลายสุขภาพได้อย่างไม่รู้ตัว

นักโภชนาการเตือน

Cai Zhengliang นักโภชนาการชาวไต้หวัน ออกมาเตือนว่า หลายคนมีพฤติกรรมผิดๆ เวลาห่ออาหารด้วยพลาสติกแรป ซึ่งอาจทำให้สารเคมีจากพลาสติกละลายออกมาปนเปื้อนในอาหาร แล้วซึมเข้าสู่ร่างกาย ส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร ตับ ไต และอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งในระยะยาว

เจ้าตัวยังบอกด้วยว่า แม้เขาจะหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ห่อด้วยพลาสติกแรปโดยสิ้นเชิง แต่เขาก็ไม่ได้ห้ามคนอื่นใช้ เพียงแค่แนะนำให้หลีกเลี่ยง 4 พฤติกรรมต่อไปนี้ ซึ่งถือว่าอันตรายที่สุด:

4 วิธีใช้พลาสติกแรปอาหารที่ไม่ควรทำเด็ดขาด

นักโภชนาการเตือน

1. ห่ออาหารตอนยังร้อน

หลายคนมักรีบห่ออาหารทันทีที่ปรุงเสร็จ แต่ถ้าอาหารยังร้อนเกิน 80 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะเมื่อใช้พลาสติกแรปชนิด PVC ซึ่งหาง่าย ราคาถูก สารเคมีในพลาสติกอาจระเหยออกมาได้ เช่น สารคลอรีนและสารทำให้อ่อนตัว ทางที่ดีควรรอให้อาหารเย็นลงเหลือไม่เกิน 50 องศา ก่อนค่อยห่อด้วยพลาสติกแรป หรือเลือกใช้กล่องแก้วที่ทนความร้อนจะปลอดภัยกว่า

2. ห่ออาหารที่มีน้ำมันหรือไขมันเยอะ

ของทอด ของผัด หรืออาหารที่มีน้ำมันมาก จะทำให้สารเคมีจากพลาสติกละลายง่ายขึ้น เมื่อรับประทานเข้าไปบ่อยๆ จะสะสมในร่างกายโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกแรปห่ออาหารมันๆ โดยเฉพาะตอนร้อน ควรใช้กล่องแก้วหรือกล่องเซรามิกที่มีฝาปิดจะปลอดภัยกว่า

3. ห่ออาหารที่มีความเป็นกรด

อาหารที่มีความเป็นกรด เช่น ของดอง น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว หรืออาหารหมักต่างๆ เพราะกรดสามารถทำให้พลาสติกแรปเสื่อมสภาพ ปล่อยสารอันตรายออกมาปนในอาหาร ทางที่ดีควรใช้ภาชนะที่ทำจากแก้ว หรือฟอยล์อลูมิเนียมแทน และหลีกเลี่ยงพลาสติกแรปประเภท PVC หรือ PVDC ที่ไวต่อกรด

4. นำพลาสติกแรปมาใช้ซ้ำ

พลาสติกแรปอาหารออกแบบมาให้ใช้ครั้งเดียวเท่านั้น “ห้ามใช้ซ้ำเด็ดขาด” การนำกลับมาใช้ใหม่อาจทำให้พลาสติกเสื่อมสภาพ ฉีกขาด มีเชื้อโรค หรือปล่อยไมโครพลาสติกออกมาได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อใช้กับอาหารร้อนหรือมัน หากต้องการประหยัด ให้ใช้กล่องเก็บอาหารที่ปลอดภัยและใช้ซ้ำได้แทน

ท้ายที่สุดแล้ว พลาสติกแรปอาหารไม่ใช่ของอันตราย และสามารถใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน เพียงแต่ต้องคำนึงในเรื่องสำคัญคือ “เลือกให้ดี ใช้ให้ถูก” โดยควรเลือกใช้ให้เหมาะกับประเภทอาหาร และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง 4 ข้อข้างต้น เพื่อสุขภาพที่ปลอดภัยของทุกคนในบ้าน

นักโภชนาการเตือน

เครดิต sanook.com