21/09/2024

ผลข่าว ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด

ผลข่าว อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด 24 ชั่วโมง

สาเหตุน้ำท่วมหนัก ปี 67 ในพื้นที่ภาคเหนือกรมอุตุนิยมวิทยาแจง

สาเหตุน้ำท่วมหนัก

สาเหตุน้ำท่วมหนัก ปี 2567 กรมอุตุนิยมวิทยาเผยสาเหตุของการเกิดน้ำท่วมหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยาออกมาเผยถึงสาเหตุของการเกิด “น้ำท่วมหนัก” ในภาคเหนือ ปี 2567 พร้อมเตือนพื้นที่ต้องเฝ้าระวัง และเตรียมความพร้อมเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยสูง อ่านผลข่าวเพิ่มเติม

วันที่ 26 สิงหาคม 2567 มีรายงานจากกรมอุตุนิยมวิทยาเผยถึง สาเหตุน้ำท่วมหนัก ปี 67 โดยได้โพสต์ข้อความระบุว่า จากอุทกภัยรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาคเหนือตอนบนครอบคลุมพื้นที่ของ จ.เชียงราย น่าน พะเยา แพร่ ช่วงเดือนสิงหาคม 

โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้เกิดจากฝนที่ตกต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค. 67 และปริมาณฝนเพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 17-21 ส.ค. 67 เพราะอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านทางตอนบนของภาคเหนือ

สาเหตุน้ำท่วมหนัก

ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยในระยะนี้โดยมีกำลังอ่อนถึงปานกลาง และมีกำลังค่อนข้างแรงเป็นบางช่วง จึงทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่องได้เกือบทุกวัน อีกทั้งยังตกหนักถึงหนักมากในบางวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝนที่ตกในพื้นที่ที่เป็นภูเขาสูง

จึงทำให้มีปริมาณฝนตกสะสมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว จึงเกิดเป็นน้ำท่าที่มีปริมาณมหาศาลไหลลงสู่ลุ่มน้ำหลัก และลุ่มน้ำสาขาต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าขณะนี้สถานการณ์ฝนที่ตกหนักเริ่มลดลงบ้างแล้ว ในทางตอนบนของภาคเหนือ แต่ยังต้องระวังมวลน้ำที่ยังไหลในลุ่มน้ำต่าง ๆ ที่จะเริ่มทยอยลงมาเรื่อย ๆ

สาเหตุน้ำท่วมหนัก

สำหรับการคาดหมายสภาพอากาศในช่วงสัปดาห์หน้า 26-29 ส.ค. 67 ประชาชนจะต้องติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากคาดว่าร่องมรสุมที่พาดผ่านทางบนของภาคเหนือ จะเริ่มเลื่อนต่ำลง มาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีกำลังแรงขึ้น จึงทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักในพื้นที่ของภาคเหนือตอนบน ภาคอีสานตอนบน ภาคตะวันออก ภาคกลาง กทม. และปริมณฑล อีกระยะ

สาเหตุน้ำท่วมหนัก

สำหรับภาคใต้นั้นจะมีฝนเพิ่มขึ้นโดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก (อันดามัน) และจะมีคลื่นลมจะมีกำลังแรงขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศดังกล่าว ยังทำให้พื้นที่ที่เคยมีน้ำท่วมขังในภาคเหนือ ยังมีความเสี่ยงเกิดอุทกภัยในระยะนี้ และพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยสูง ได้แก่

ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย น่าน พะเยา แพร่

ภาคใต้ ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี และตราด คลื่นลมมีกำลังแรง ระวังคลื่นซัดฝั่ง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้

เครดิต เพจเฟสบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา