22/05/2024

ผลข่าว ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด

ผลข่าว อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด 24 ชั่วโมง

ราชบัณฑิตยสภา เผย ตีตัวออกหาก ตีตัวออกห่าง 2 คำนี้ใช้คำไหน

ราชบัณฑิตยสภา

ราชบัณฑิตยสภา ตอบแล้ว "ตีตัวออกหาก กับ ตีตัวออกห่าง" ใช้คำไหน?

ราชบัณฑิตฯ ออกมาตอบแล้วหลังเกิดประเด็นความหมายระหว่างคำว่า ตีตัวออกหาก และ ตีตัวออกห่าง หลายคนเพิ่งเคยได้ยินคำว่า ตีตัวออกหากครั้งแรก อ่านข่าวเพิ่มเติม

สำหรับหนึ่งในคอมเมนต์ของโพสต์หนึ่งที่นำแชทการตอบคำถามของสำนักงานราชบัณฑิตยสภามาแชร์ พร้อมเขียนแคปชั่นว่า “แปะข้อมูลสำหรับไรท์เตอร์ทุกคนจ้า” อย่างไรก็ดี การตอบของราชบัณฑิตฯ ทำให้โพสต์ดังกล่าวกลายเป็นไวรัลทันที

ราชบัณฑิตยสภา

ข้อมูลภายในแชทมีรายละเอียดการโต้ตอบกันว่า เราสามารถใช้คำว่า “ตีตัวออกห่าง” แทนคำว่า “ตีตัวออกหาก” ได้ไหม เพราะปกติคนไทยจะใช้คำว่า “ตีตัวออกห่าง” กันจนชินปากมากกว่า

โดยทางราชบัณฑิตก็ตอบคำถาม ด้วยการยกตัวอย่างบริบทการใช้ 2 คำนี้ว่า “จะกลับมาคบกันใหม่ไหมครับ ถ้าไม่ก็ให้ใช้ “ออกหาก” แต่ถ้ามีแววว่ากลับมาก็ใช้ “ออกห่าง”

อย่างไรก็ตามเพื่อยืนยันข้อเท็จจริง เราจึงสอบถามไปที่เพจราชบัณฑิตฯ ว่าแชทดังกล่าวนั้นจริงหรือไม่? ด้านราชบัณฑิตฯ ได้ตอบกลับมาว่า “เป็นเรื่องจริง” แต่แชทนี้เคยเป็นไวรัลตั้งแต่ปี 2565

ราชบัณฑิตยสภา

ตีตัวออกหาก ความหมาย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554

  • ห่างเหินไปไม่ร่วมมือร่วมใจเหมือนเดิม
  • ตีตนจากไป
  • ปลีกตัวออกไป
  • เอาใจออกหาก 
  • ไม่คบหาสมาคมด้วยเหมือนเดิม
  • อาการที่ทำห่างเหินไม่ร่วมมือร่วมใจเหมือนเดิม เอาใจออกหาก

ซึ่งก็สอดคล้องกับบริบทที่ว่า ถ้าไม่ได้กลับมามีความสัมพันธ์ด้วยกันอีก ก็ต้องใช้คำดังกล่าว ไม่ใช่คำว่าตีตัวออกห่าง

ราชบัณฑิตยสภา

ตีตัวออกห่าง ยังไม่ถูกเก็บลงในพจนานุกรมฯ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่ที่รู้ ๆ กันอยู่ในความมายที่ว่า

  • ตีตนออกห่าง,ตีจาก

อย่างไรก็ตาม ราชบัณฑิตฯ กล่าวว่า “การตอบคำถามไปวันนั้นเป็นแค่ความคิดของแอดมินเพียงคนเดียว ไม่ถือว่าเป็นคำตอบที่เป็นทางการ เพราะไม่ใช่มติของคณะกรรมการชำระพจนานุกรม”

ขณะนี้ยังไม่มีคำว่า “ตีตัวออกห่าง” ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ซึ่งในพจนานุกรมฯ ฉบับต่อ ๆ ไป อาจจะพิจารณาเพิ่มคำว่า “ตีตัวออกห่าง’ ลงในพจนานุกรมฯ หรือไม่ก็ได้ ซึ่งหากเพิ่มจริง อาจจะจัดเป็นความหมายเดียวกับคำว่า ‘ตีตัวออกหาก’ หรืออาจจะจัดให้เป็นความหมายใหม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับมติของคณะกรรมการชำระพจนานุกรม