19/05/2024

ผลข่าว ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด

ผลข่าว อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด 24 ชั่วโมง

โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 : อันตรายแค่ไหน มีอาการอย่างไร

โควิดสายพันธุ์ใหม่

โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 หรืออาร์คตูรุส (Arcturus) เป็นดควิดสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์โอมิครอนอยู่ในการเฝ้าระวังขององค์การอนามัยโลก ขณะนี้พบการระบาดของสายพันธุ์นี้เพิ่มขึ้นทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศอินเดีย อ่านข่าวเพิ่มเติม

โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 คืออะไรมาทำความรู้จักกัน

โควิดสายพันธุ์ XBB.1.1.16 หรืออาร์คตูรุส เป็นสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์โอมิครอน โดยองค์การอนามัยโลกระบุว่า ขณะนี้กำลังสังเกตการณ์สายพันธุ์นี้ เนื่องจาก “มีศักยภาพสูงทำให้จำเป็นต้องเฝ้าระวังให้ดี”

โควิดสายพนธุ์ XBB.1.16 ตรวจพบครั้งแรกเมื่อเดือน ม.ค. 2566 ก่อนที่องค์การอนามัยโลกจะขึ้นบัญชีเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวัง เมื่อวันที่ 22 มี.ค.2566

ซึ่งโควิดสายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์ลูกผสม ระหว่างสายพันธุ์ BA.2.10.1 และ BA.2.75 เป็นสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์หลัก คือ โควิดโอมิครอน BA.2

โควิดสายพันธุ์ใหม่
เยื่อบุตาอักเสบ หรืออาการตาแดง

องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาแถลงข่าวเมื่อวันที่ 29 มี.ค. ว่า ตรวจพบผู้ป่วยสายพันธุ์ XBB.1.1.16 แล้วกว่า 800 คน จาก 22 ประเทศ ส่วนใหญ่พบในอินเดีย และเข้ามาแทนที่สายพันธุ์ที่กำลังระบาดในปัจจุบันอื่น ๆ ก่อนที่จะเพิ่มเป็นกว่า 3,000 คนทั่วโลก จนถึงกลางเดือน เม.ย.

โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 มีลักษณะคล้ายสายพันธุ์ XBB.1.5 แต่มีการกลายพันธุ์เพิ่มเติมที่หนามโปรตีน จากผลการทดลองในห้องแล็บพบว่า ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ทำและมีโอกาสทำให้เกิดอาการของโรคได้ง่ายขึ้น

จากผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งโตเกียวในญี่ปุ่นได้พบว่า โควิด XBB.1.16 สามารถแพร่เชื้อได้มากกว่าสายพันธุ์ XBB.1 และ XBB.1.5 ราว 1.17-1.27 เท่า และยอมรับด้วยว่า โควิดสายพันธุ์นี้มีศักยภาพที่จะแพร่กระจายไปทั่วโลกได้ในอนาคตอันใกล้

ไม่เพียงเท่านั้น จากผลทดสอบยังพบว่า โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 “มีฤทธิ์ต้านทาน” แอนติบอดีโควิด-19 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ด้าน ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ม.มหิดล ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวเมื่อวันที่ 17 เม.ย. ว่า โควิด XBB.1.16 ถือเป็นโควิดสายพันธุ์ที่น่ากังวลที่สุดในเวลานี้

โควิดสายพันธุ์ใหม่

จากศักยภาพ “หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด เกาะเซลล์ได้ดีที่สุด… และสามารถกลายพันธุ์ได้ง่าย” โดยมีศักยภาพการติดเชื้อมากกว่า สายพันธุ์หลักในไทย คือ BN.1.3 ราว 200% และเหนือกว่า XBB.1.5 (สายพันธุ์โอมิครอนหลักในไทย) ถึง 89%

“ทำให้โลกน่ากังวลที่สุด เพราะโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 อาจมาแทนที่ทุกสายพันธุ์” ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ กล่าว แต่ย้ำว่า แม้จะติดเชื้อได้เร็ว แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเจ็บป่วยรุนแรงมากขึ้น

และสิ่งที่น่ากังวลที่สุดของโควิดสายพันธุ์นี้ คือ “จะมีลูกหลานออกไปอีกหรือเปล่า” เพราะอย่างกรณีในไทย พบผู้ป่วยสายพันธุ์ย่อยของโควิด XBB.1.16 แล้ว คือ .1.16.1

“มันเป็นสายพันธุ์ที่เราต้องจับตา” ดร. มาเรีย แวน เคอร์คโฮฟ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคขององค์การอนามัยโลก (WHO) ด้านโควิด แถลงข่าวเมื่อ 29 มี.ค. “มันแพร่กระจายมาหลายเดือนแล้ว”

แต่อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก ระบุว่า ยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงของความรุนแรงอาการต่อบุคคลหรือประชากร จากโควิดสายพันธุ์นี้ “แต่เราจะเฝ้าจับตาต่อไป”

โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 มีอาการอย่างไร ? ติดง่ายกว่าสายพันธุ์เดิมหรือไม่ ? กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง ?

นอกจากมีไข้สูง ไอ เจ็บคอ น้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่นแล้ว อาการที่พบยังมีรายงานการเกิดเยื่อบุตาอักเสบสูงขึ้น ทำให้ผู้ป่วยอาจมีอาการตาแดง เคืองตา ขี้ตามาก ซึ่งเป็นอาการที่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ ก่อนหน้านี้

โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 มีการกลายพันธุ์บริเวณหนามของไวรัส เพิ่มขึ้น 3 ตำแหน่ง ได้แก่ ตำแหน่ง E180V, K478R และ S486P ทำให้สามารถเกาะติดเซลล์ของมนุษย์ได้ดีกว่าสายพันธุ์เดิม อีกทั้งยังพบว่า XBB.1.16 สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์โอมิครอนเดิมถึง 1.5 – 2 เท่า

โควิดสายพันธุ์ใหม่

กลุ่มเสี่ยงที่อาจจะเกิดอาการรุนแรง ได้แก่ กลุ่มผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัวในกลุ่ม 7 โรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป รวมไปถึงกลุ่มคนที่ไม่ได้รับวัคซีนและไม่เคยติดเชื้อโควิดมาก่อน ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อและเกิดอาการรุนแรงได้

เครดิต BBC.COM