19/05/2024

ผลข่าว ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด

ผลข่าว อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด 24 ชั่วโมง

ฝีดาษลิง Monkeypox กลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งในไทยปี 2566

ฝีดาษลิง

โรคฝีดาษวานรนั้นมีการระบาดเป็นโรคประจำถิ่นอยู่ทั่วไปในทวีปแอฟริกา เคยมีการระบาดและสงบไปในช่วงปี 2546 และกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งไปในหลายประเทศทั่วโลกในปี 2565 เริ่มจากประเทศในแถบยุโรป และในส่วนของประเทศไทยนั้นพบผู้ป่วยรายแรกในช่วงกลางปี 2565 ที่ผ่านมา อ่านข่าวเพิ่มเติม

โรคฝีดาษวานรเป็นโรคติดต่อผ่านการสัมผัส โดยมีการระบาดในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชายเป็นหลัก ก่อนหน้าสถานการณ์โรคดูเหมือนสงบลงแล้ว ทว่าล่าสุดในช่วงเดือนสิงหาคม 2566 กลับพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในประเทศไทยพุ่งขึ้นถึง 145 คน นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ป่วยอายุน้อยที่สุดเพียง 16 ปี เท่านั้น

ฝีดาษลิง

การระบาดของโรคฝีดาษวานรในประเทศไทย เริ่มพบผู้ป่วยรายแรกในช่วงเดือนกรกฎาคม ปี 2565 โดยพบในกลุ่มชายวัยทำงาน เริ่มการระบาดมาจากชาวต่างชาติ โดยแพร่ระบาดตามสถานบันเทิงเนื่องจากโรคนี้จะการติดต่อผ่านสัมผัสตัวกัน 

หลังจากสถานการณ์พบผู้ป่วยเริ่มลดลง ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2566 องค์การอนามัยประกาศให้โรคฝีดาษวานรพ้นจากสถานะภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ แต่ไม่นานก็กลับมาพบการระบาดอีกครั้งในประเทศไทยโดยมีการระบาดในกลุ่มเยาวชนเพิ่มมากขึ้น

เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม ปี 2566 พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเดือนพฤษภาคมพบผู้ป่วยเพิ่ม 22 คน เมื่อข้าสู่เดือนมิถุนายน พบผู้ป่วย 48 คน เพิ่มขึ้นถึง 2.3 เท่า และเพิ่มขึ้นอีกในเดือนกรกฎาคมที่ 80 คน กระทั่งเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีตัวเลขผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 145 คน และมีผู้เสียชีวิตรายแรกของประเทศไทยแล้ว

ฝีดาษลิง

การระบาดของโรคฝีดาษวานรในประเทศไทย ข้อมูลจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 มีผู้ป่วยทั้งหมดรวมแล้ว 316 คน พบอาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 198 คน ชลบุรี 22 คน นนทบุรี 17 คน และสมุทรปราการ 12 คน 

อีกทั้ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุ 30-39 ปี 152 คน รองลงมาอยู่ในช่วงอายุ 20-29 ปี 85 คน และเริ่มพบในกลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ปี 28 คน

ฝีดาษลิง อาการเป็นอย่างไร และควรพบแพทย์เมื่อไหร่

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้ให้ข้อมูล วันที่ 14 สิงหาคม 2566 โดยระบุว่า บุคคลทั่วไปสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

  • มีผื่นหรือตุ่มขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือบริเวณตามร่างกายต่าง ๆ หากมีประวัติสัมผัสใกล้ชิด แนบชิด หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่สงสัยว่าเป็นฝีดาษวานรให้สังเกตตัวเองภายหลังสัมผัสผู้ป่วยภายใน 21 วัน
  • การสังเกตอาการ ระยะเวลาภายใน 21 วัน หากพบว่าตัวเองมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย มีอาการต่อมน้ำเหลืองโต (อาการบวมแดงบริเวณคอ รักแร้ และขาหนีบ) มีผื่นหรือตุ่มกลายเป็นตุ่มน้ำตุ่มหนองขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก 

หรือหากพบบริเวณรอบ ๆ ตามมือ เท้า หน้าอก ใบหน้า หรือบริเวณปาก ให้รีบเข้ารับการตรวจที่สถานบริการสุขภาพ หรือโรงพยาบาลทันที โดยแจ้งอาการและประวัติเสี่ยงเพื่อประกอบการวินิจฉัย

ฝีดาษลิง

กลุ่มเสี่ยงหากติดเชื้อฝีดาษวานรแล้วมีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการรุนแรง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ได้แก่ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด ผู้ป่วยมะเร็งอวัยวะต่าง ๆ ผู้ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ เด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี และผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำอื่น ๆ เช่น กลุ่มที่ได้รับยาที่กดภูมิต้านทาน และรวมไปถึงกลุ่มหญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร

อย่างไรก็ตาม หากคุณพบว่าตัวเองเริ่มมีอาการป่วยหรือมีความเสี่ยงที่น่าสงสัย คุณควรสวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องใกล้ชิดกับบุคคลอื่น ใส่เสื้อผ้าที่ปกคลุมรอยโรค หรือตุ่มต่าง ๆ ด้วยเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เพื่อป้องกันการติดต่อไปถึงผู้อื่น 

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำในการปฏิบัติตนเพิ่มเติม สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค สามารถโทรได้ที่ 1422