21/05/2024

ผลข่าว ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด

ผลข่าว อัพเดทข่าวสาร ข่าวสด ข่าววันนี้ ข่าวล่าสุด 24 ชั่วโมง

สารแทนน้ำตาล ดร. อีแวนเจลีน ออกมาแจง หลังเหตุดราม่า 16 พ.ค.

สารแทนน้ำตาล

เมื่อวันที่ 16 พ.ค. ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำใหม่ว่าด้วยการใช้สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (artificial sweeteners) ไม่แนะนำให้คนทั่วไปใช้สารดังกล่าวเพื่อควบคุมน้ำหนัก หรือใช้เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (NCDs) เช่นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็งที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต อ่านข่าวเพิ่มเติม

สารแทนน้ำตาล "ไม่อันตราย" แต่ไม่ได้ช่วยลดน้ำหนักหรือรักษาสุขภาพ

ดร. อีแวนเจลีน แมนต์ซีออริส นักโภชนากา มหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย ได้ออกมาชี้แจงถึงคำแนะนำของ WHO เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดนี้ ในบทความของเธอที่ลงตีพิมพ์บนเว็บไซต์วิชาการ The Conversation ดังต่อไปนี้

ดร. อีแวนเจลีน แมนต์ซีออริส ได้กล่าวเน้นย้ำว่า ถ้อยแถลงขององค์การอนามัยโลกไม่ได้ระบุว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้นให้โทษ หรือก่อให้เกิดอันตรายจนต้องสั่งห้ามบริโภคแต่อย่างใด เนื่องจากผลวิจัยซึ่งเป็นที่มาของคำแนะนำล่าสุดนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สารเคมีหรือเรื่องความปลอดภัย

สารแทนน้ำตาล

ดร. อีแวนเจลีน แมนต์ซีออริส กล่าวว่า สารให้ความหวานแทนน้ำตาลทุกชนิดยังคงมีประโยชน์ในแง่ที่ไม่ให้พลังงาน หรือมีแคลอรีที่ต่ำมาก ๆ จนเหมือนกับว่าไม่มีแคลอรี แต่สามารถให้ความหวานได้สูงกว่าน้ำตาลธรรมดาถึง 400 เท่า 

ในขณะที่น้ำตาลแท้นั้นจะให้พลังงานอยู่ที่ 4 กิโลแคลอรีต่อ 1 กรัม จึงสามารถนำสารให้ความหวานแทนน้ำตาลมาเติมในอาหารหรือเครื่องดื่มของผู้ป่วยเบาหวานเพื่อเพิ่มรสชาติหวานได้

สารแทนน้ำตาล
ถ้อยแถลงทางทวิตเตอร์เรื่องสารให้ความหวานแทนน้ำตาล จากผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก

ย้อนไปเมื่อทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา มีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมให้ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลในอาหารแปรรูปเพื่อช่วยควบคุมน้ำหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ำอัดลมที่ให้พลังงานกระป๋องละ 120 กิโลแคลอรีโดยประมาณ มีการคำนวณว่าหากคนที่ดื่มน้ำอัดลมชนิดนี้วันละกระป๋อง หากเปลี่ยนมาดื่มแบบที่เติมสารให้ความหวานแทนน้ำตาล จะช่วยให้ลดน้ำหนักได้เดือนละ 1 กิโลกรัมเลยทีเดียว

แต่ทว่าจากผลการศึกษาในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา กลับบ่งชี้ว่าการลดน้ำหนักด้วยสารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้นไม่ประสบผลสำเร็จอย่างที่คิด เพราะล่าสุดองค์การอนามัยโลกได้ทำการวิเคราะห์ทบทวนงานวิจัยจำนวนมาก ซึ่งว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลกับความอ้วน การเกิดโรค NCDs และอัตราการเสียชีวิต

ผลปรากฏว่างานวิจัยที่ศึกษาติดตามคนกลุ่มใหญ่ในระยะยาว 13 ปี พบว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาลมีความเกี่ยวข้องกับดัชนีมวลกาย (BMI) ที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคอ้วนสูงขึ้นถึง 76% นอกจากนี้ผู้บริโภคที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นประจำยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอีก 34% และมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ หลอดเลือด รวมทั้งอัตราการตายก็เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย

สารแทนน้ำตาล
ผู้ป่วยเบาหวานยังสามารถใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลได้ตามปกติ

อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบความเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้องระหว่างผู้บริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลกับโรคมะเร็ง และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรแต่อย่างใด ส่วนผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว การบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลไม่ได้ส่งผลบวกหรือลบต่อระดับน้ำตาลในเลือดและระดับอินซูลิน

ผลการวิเคราะห์ทบทวนงานวิจัยของ WHO จะถูกโจมตีอย่างมากเกี่ยวกับมุมมองที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากมีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยที่ชี้ว่ากลุ่มทดลองสามารถลดน้ำหนักได้ด้วยการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

แต่ทาง WHO ได้ชี้แจงว่า งานวิจัยดังกล่าวเป็นการศึกษาในกลุ่มทดลองขนาดเล็กและยังมีคุณภาพต่ำ ทั้งยังชี้ว่าน้ำหนักที่ลดลงจากการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลในการทดลองข้างต้นคิดเป็นปริมาณเพียงเล็กน้อย โดยลดได้ราว 0.7 กิโลกรัมในระยะยาว

ดร. อีแวนเจลีน แมนต์ซีออริส ได้กล่าวสรุปว่า ถึงแม้คำแนะนำของ WHO ชี้ว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาลไม่มีประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพของคนทั่วไปในระยะยาว แต่ยังอนุญาตให้ผู้ป่วยเบาหวานใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเพื่อเพิ่มรสชาติของอาหารและเครื่องดื่มต่อไปได้

อีกทั้งคำแนะนำนี้ไม่ได้หมายความว่าเราควรจะกลับไปบริโภคน้ำตาลชนิดธรรมดาเหมือนเดิม เพราะในน้ำตาลยังคงเป็นสาเหตุหลักของความอ้วนและโรคภัยต่าง ๆ แพทย์เองก็แนะนำให้คนทั่วไปบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 10% ของพลังงานที่ต้องได้รับต่อวัน ราว 50 กรัม (10 ช้อนชา) สำหรับผู้ที่ต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี

เครดิต BBC.COM